บทสรรเสริญ

วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

 

คำสอนที่สายลม ปี ๒๕๓๑ ตอนที่ ๓ ๔ ม.ค. ๓๑ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
ที่มา หนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๔๘ มีนาคม ๒๕๕๓
วันนี้เป็นวันสุดท้ายในการเจริญพระกรรมฐานในงวดนี้ สำหรับ ๒ วันที่ผ่านมาดูเหมือนว่าวิปัสสนาญาณจะหนักไปหน่อย เมื่อสองวันที่ผ่านมาแนะนำในด้านวิปัสสนาญาณรู้สึกจะหนักไปนิดหนึ่ง แต่ให้มีความเข้าใจว่าวิปัสสนาญาณคืออะไร ความจริงวิปัสสนาญาณนี้ไม่ใช่ของหนัก ถ้าใช้ภาษาบาลีรู้สึกว่าหนักมาก ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็ไม่หนัก
ญาณเขาแปลว่ารู้
วิปัสสนาแปลว่าเห็น
คือมีความรู้ความเห็นตามความเป็นจริงหรือยอมรับนับถือความเป็นจริงนั่นเอง ใช้ปัญญายอมรับนับถือ
อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความเกิดมีสภาพไม่เที่ยง เมื่อเกิดเป็นเด็กเล็ก ต่อไปก็ค่อยๆ เปลี่ยนทีละน้อยมาเป็นเด็กใหญ่ จากเด็กใหญ่ก็เปลี่ยนมาเป็นหนุ่มสาว จากความเป็นหนุ่มสาวก็เป็นวัยกลางคน จากวัยกลางคนก็มาเป็นคนแก่ จากแก่ก็ตาย จากตายก็เป็นผี
ก็รวมความว่าสภาพของความเกิดในโลกนี้มันไม่เที่ยง ท่านบอกว่าโลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คำว่าโลกนี่แผ่นดินก็โลก ต้นไม้หรือบ้านเรือนก็โลก คนก็โลก สัตว์ก็โลก รวมความว่าทั้งตัวโลกและสมบัติของโลกมีสภาพไม่เที่ยงเหมือนกัน
แต่ว่าที่พระพุทธเจ้าต้องมาสอนก็เพราะว่าคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับนับถือตามความเป็นจริง เพราะเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็มีความรู้สึกว่าเราจะไม่เปลี่ยนแปลง ตอนเป็นเด็กเล็กก็อยากเป็นเด็กโต ก็ได้เป็นสมความปรารถนา เมื่อเป็นเด็กใหญ่แล้วก็อยากเป็นหนุ่มเป็นสาวก็เป็นได้สมความปรารถนา
พอถึงความเป็นหนุ่มสาวก็ไม่อยากแก่ เมื่อไม่อยากแก่ ถ้าความแก่เข้ามาเราก็ฝืนไม่ได้ ก็รวมความว่าโลกไม่มีการทรงตัวตามใจเราชอบ
ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนด้านวิปัสสนาญาณ คือยอมรับนับถือความเป็นจริง ให้มีความเข้าใจว่าโลกไม่เที่ยง คือร่างกายเราไม่เที่ยง วัตถุธาตุต่างๆ ก็มีสภาพไม่เที่ยง มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วมีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง แล้วก็มีการแตกสลายในที่สุด
เมื่อจิตยอมรับความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็มองเห็นความทุกข์ของโลกว่า การเกิดในโลกมันเต็มไปด้วยความทุกข์หรือความไม่เที่ยงของมัน ถ้าเราจะเกิดอีกกี่ครั้งสภาพความไม่เที่ยงก็คงอยู่ ก็มีความทุกข์ต่อไป
องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงทราบว่าแดนที่มีความเที่ยงมันมี นั่นคือพระนิพพาน
มนุษย์โลกไม่เที่ยง เทวโลกกับพรหมโลกก็ไม่เที่ยง แต่แดนที่คนมีความเที่ยงมีคือนิพพาน จึงแนะนำให้ทุกคนปฏิบัติตนเพื่อพระนิพพาน การปฏิบัติเพื่อพระนิพพานนี่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ถึง ๘๔,๐๐๐ หัวข้อ ที่เราเรียกว่าธรรมขันธ์นี่ คือพระสูตรอันหนึ่งก็ดี ชาดกเรื่องหนึ่งก็ดี หรือว่าธรรมะตอนใดตอนหนึ่งที่กล่าวแล้วจบ จะสั้นจะยาวก็ตาม ก็ถือเป็นธรรมขันธ์กองหนึ่ง
ขันธ์แปลว่ากอง คือกองธรรมกองหนึ่ง ในคำสอนพระพุทธเจ้าทุกกองหรือทุกธรรมขันธ์ หรือทุกตอนที่สอนไว้น่ะมีผลถึงนิพพานทั้งหมด
แต่ว่าที่พระพุทธเจ้าท่านสอนมากก็เพราะว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทมีกำลังใจไม่เสมอกัน บางคนชอบลีลาแบบนี้ บางคนชอบลีลาแบบนั้น ถ้าสอนแบบเดียวถูกใจใคร คนนั้นก็บรรลุมรรคผล ถ้าบังเอิญบุคคลใดที่ไม่ถูกใจก็ไม่ได้บรรลุมรรคผล ฉะนั้นในฐานะที่องค์สมเด็จพระทศพลเป็นพระสัพพัญญู จึงสอนไว้มาก
วันนี้ก็จะแนะนำเรื่องกรรมฐานที่ปฏิบัติง่ายๆ จริงๆ มีอยู่ ๑๐ อย่างที่ท่านเรียกว่าอนุสสติ แต่วันนี้จะพูดครบสิบหรือไม่ครบก็ไม่ทราบเพราะมันเหนื่อยๆ ถ้าไม่ครบก็ขออภัยด้วย คือคำว่า อนุสสตินี่แปลว่าตามนึกถึง คือไม่ต้องใช้กำลังมาก ไม่ต้องเคร่งเครียดกับอาการที่ทำสมาธินั่งตรงเกินไป เราจะทำอย่างนั้นได้แต่ว่าพอเวลาสมควรเราก็เลิก แล้วต่อไปหลังจากนั้นหรือจะไม่นั่งอย่างนั้นเลยก็ได้ ถ้าจิตทรงอยู่ ตั้งเวลาการนึก
อนุสสติแปลว่าตามนึกถึง ถ้านึกถึงอนุสสติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๑๐ อย่างนี้ ให้เลือกเอาตามชอบใจ เวลานี้อาจจะชอบอย่างนี้ เวลานั้นอาจชอบอย่างนั้น เวลาโน้นอาจจะชอบอีกอย่างหนึ่งก็ไม่เป็นไร ก็ถือว่าถ้าใจยังนึกถึงอนุสสติทั้ง ๑๐ อย่างนี่อย่างใดอย่างหนึ่ง
อันดับแรกก็ถือว่าเป็นมหากุศลใหญ่ ในระยะต้นๆ อย่างอ่อนๆ นี่ถือเป็นมหากุศลใหญ่ ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท นึกถึงอนุสสติ ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง จิตจะมีกำลังแค่ขณิกสมาธิ คำว่าขณิกสมาธิ แปลว่าสมาธิเล็กน้อย คือนึกได้ครึ่งนาทีบ้าง หนึ่งนาทีบ้าง เป็นอย่างมาก จิตก็เผลอไปคิดเรื่องอื่นเข้ามาแทน พอรู้สึกตัวก็คว้ามาใหม่ นึกได้นาที สองนาทีบ้าง ครึ่งนาทีบ้างก็เผลอใหม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่าขณิกสมาธิ
เพียงกำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทนึกอยู่แต่ละครั้ง เพียงแค่ขณิกสมาธิ อย่างนี้ท่านเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นกามาวจรได้ แต่ว่าอยู่ตามเขตของสมาธิที่มีกำลังต่ำ ก็รวมความว่าเราเกิดเป็นเทวดานางฟ้าได้ก็แล้วกัน
ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทนึกถึงอนุสสติ ๑๐ อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้ากำลังใจบางขณะทรงได้ถึง อุปจารสมาธิ คำว่า อุปจารสมาธิ แปลว่าสมาธิเฉียดฌาน ยังไม่ถึงฌานสมาบัติ ใกล้ฌาน แต่จิตเป็นสุข อารมณ์ที่เราจะคิดว่าขณะไหนจิตเป็นอุปจารสมาธิก็อาจจะสังเกตได้สัก ๒ อย่าง คือ
๑ มีกำลังใจชุ่มชื่นเอิบอิ่ม พอใจในการนึกถึง
๒ บางคนอาจจะมีภาพบางอย่างเกิดขึ้น บางทีก็เป็นสีเขียว สีขาว สีแดง ลอยอยู่ข้างหน้าบ้าง จางๆ ไม่ชัดเจนนัก
ถ้าอาการอย่างนี้ปรากฏขอบรรดาท่านพุทธบริษัทพึงทราบว่า เวลานั้นจิตของท่านอยู่ในขั้นของ อุปจารสมาธิ แต่การทรงสมาธิขั้นอุปจารสมาธิก็ไม่นานนัก บางครั้งก็ได้สัก ๑ นาทีแล้วก็หายไปแล้ว บางทีอย่างเก่งก็ ๒ นาที ๓ นาที นี่เอาอย่างสั้นๆ นะ และเอาน้อยๆ
ถ้าทรงได้ขณะนี้ท่านบอกว่าถ้าตายจากความเป็นคนเลือกเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าในสวรรค์ชั้นกามาวจรได้ตามใจ แต่ว่ามีสิทธิ์ได้สวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ชั้นไหนก็ได้ นี่สำหรับตำราท่านบอกนะ
ถ้ากำลังใจท่านพุทธบริษัทบางครั้งเป็นฌาน ความจริงเมื่อสองวันก็หนักวิปัสสนาญาณ วันนี้ก็หนักสมถะอีกแล้ว ถ้าคำว่าญาณฟังแล้วก็หนักใจว่าเมื่อไรเราจะได้ญาณ ก็ต้องอธิบายนิดหนึ่ง คำว่าญาณนี่คืออารมณ์ชิน อารมณ์ชินทรงตัว ถึงเวลาก็อยากทำ แต่การที่ปฏิบัติอย่างนี้ อารมณ์จิตเป็นสุข เราอยากทำ
เมื่อขณะที่ทำอยู่ ขณะใดก็ตามสมมุติว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทนั่งกรรมฐานสัก ๓๐ นาทีที่บ้าน ในระยะเวลา ๓๐ นาทีนี้มันอาจจะมีนาทีใดนาทีหนึ่งก็ได้หรือสองนาทีก็ได้ ขณะนั้นบังเอิญหูได้ยินเสียงข้างนอกชัดเจนแจ่มใสมาก เขาด่ากันก็รู้ เขาว่ากันก็รู้ เขาชมกันก็รู้ เขาร้องรำทำเพลงก็ทราบ ได้ยินชัดเจนแจ่มในทุกอย่าง แต่ทว่าจิตใจเกิดไม่รำคาญในเสียง เฉพาะเวลานั้นจิตใจภาวนาและพิจารณาได้แบบสบายๆ เสียงได้ยินแต่ว่าไม่รำคาญ อย่างนี้ท่านถือว่าเวลานั้นใจของท่านเข้าถึง ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑ คือหูไม่รำคาญในเสียง
ต่อไปก็เป็นฌานที่ ๒ เอาแค่ฌานที่ ๒ ก็พอนะ ถ้าเป็นฌานที่ ๒ อันนี้ก็เผื่อว่าบางทีบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทจะเข้าถึง บางที่จะตกใจ แต่ขอพูดเรื่องฌานก่อน
ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ ต้องจำให้ดีนะ ฌานที่ ๑ มีคุณสมบัติที่ประกอบกัน ๕ อย่าง ท่านเรียกว่าองค์ ๕ คือ
๑ วิตก คือนึก
๒ วิจาร คือใคร่ครวญ
๓ ปีติ คือความอิ่มใจ
๔ สุข คือความสุขกายสบายใจ มันสุขมากกว่าปกติ
๕ เอกัคคตา คือมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
คำว่าอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่พูดแล้วเมื่อกี้นี้ว่า พอได้ยินเสียงชัดเจนดีมาก ใครจะพูดอะไรก็รู้เรื่อง แต่ไม่รำคาญในเสียง จิตตั้งมั่นในคำภาวนาหรือพิจารณาคือมีอารมณ์เป็นหนึ่ง อย่างนี้ท่านเรียกว่าปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑
แต่พอจิตเข้าถึงฌานที่ ๒ ตอนนี้สิบรรดาท่านญาติโยมพุทธบริษัท บางทีก็ตกใจกัน เพราะว่าฌานที่ ๒ นี่มีองค์ ๓ คือ ตัดวิตกกับวิจารทิ้งไป เราไม่ต้องไปตัด เขาตัดเขาเอง วิตกวิจารสลายตัวไป เหลือแต่ปีติคือความอิ่มใจ สุขคือความสุข และเอกัคคตาคือมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
พอจิตเข้าถึงฌานที่ ๒ จิตบะมีความสุขมาก มีความอิ่มเอิบมาก แต่ว่าเวลานั้นคำภาวนาหายไป คำภาวนานี่จะหยุดไปเอง
วิตก นี่คือนึกว่าจะภาวนา
วิจาร ก็หมายความว่ารู้อยู่ ใคร่ครวญอยู่ว่าคำภาวนานี้ถูกหรือไม่ถูก
ทีนี้วิตกกับวิจาร ทั้ง ๒ อย่างนี้คือคำภาวนาหายไป จะหยุดภาวนาเฉยๆ แต่ว่าจิตมีความชุ่มชื่นดีกว่าปฐมฌานมาก มีความสุขมาก อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ ๒
ตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นไปถึง ฌานที่ ๔ อันนี้ไม่มีคำภาวนา ขณะใดถ้ายังมีคำภาวนาอยู่ ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทพึงรู้ว่าเวลานั้นจิตของเรายังไม่ถึงฌานที่ ๒ ถ้าถึงฌานที่ ๒ เป็นต้นไปจะไม่มีคำภาวนา แต่ว่าคำภาวนานี้ต้องขึ้นต้นภาวนาเหมือนกัน เขาจะตัดเองด้วยกำลังของสมาธิ
ต่อไปจะแนะนำเรื่องอนุสสติ แปลว่าการตามนึกถึง
อนุสสติที่ ๑ คือ พุทธานุสสติ นึกถึงพระพุทธเจ้า หรือนึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง
ธัมมานุสสติ นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนใดตอนหนึ่งที่เราชอบ ได้ยินคนเขาพูด ได้ยินพระเทศน์ พระพูดให้ฟัง ใครก็ตามหรืออ่านหนังสือ แล้วชอบใจตอนไหน นึกถึงธรรมตอนนั้นเป็นธัมมานุสสติ
แล้วก็สังฆานุสสตินึกถึงพระอริยสงฆ์
แล้วต่อไปสีลานุสสติ นึกถึงศีลที่เคยรักษา คือระวังศีล
แล้วก็จาคานุสสติ นึกถึงทานการบริจาค เราเคยให้ทานแก่ใครบ้าง ให้ทานแก่คน ให้ทานแก่สัตว์ก็ตาม นึกถึงทานเพลิดเพลินในทาน นึกแค่อารมณ์เพลิดเพลินในทาน
แล้วก็เทวตานุสสติ นึกถึงเทวดา ถ้าผู้หญิงนึกถึงเทวดา ผู้ชายนึกถึงนางฟ้าละมั้ง คำว่าเทวตานุสสติ ไม่ใช่นึกถึงตัวเทวดานะ นึกถึงตัวเทวดาหรือนางฟ้าก็ได้ แต่ต้องนึกเลยไปกว่านั้นนิดหนึ่ง ต้องคิดว่าเทวดาก็ดี นางฟ้าก็ดี เดิมทีเป็นคนเหมือนเรา เมื่อท่านตายจากคนแล้วก็เป็นเทวดากับนางฟ้า ก็ต้องดูคุณธรรมว่าคนที่เป็นเทวดากับนางฟ้าน่ะเป็นได้เพราะว่าอะไร
ก็ดูตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงทราบว่าคนที่จะเป็นเทวดากับนางฟ้าได้ต้องมีคุณธรรม ๒ อย่าง คือ หิริกับโอตตัปปะ
หิริ คือความละอายต่อความชั่ว
โอตตัปปะ เกรงกลัวผลของความชั่วจะให้ผลเป็นทุกข์
ในเมื่อใช้เทวตานุสสติก็นึกว่าในเมื่อท่านเป็นเทวดาได้ ท่านเป็นนางฟ้าได้ ท่านมีร่างกายเป็นทิพย์ ท่านมีที่อยู่เป็นทิพย์ ท่านมีอารมณ์เป็นทิพย์ ความเป็นทิพย์ของท่านปราถนาอย่างใดก็ได้สมความปรารถนา  เราต้องการเป็นเทวดาบ้าง เป็นนางฟ้าบ้าง
สมมุติว่าถ้าเราต้องการไปนิพพาน ถ้ายังไปนิพพานไม่ได้เพียงใด เราขอพักที่แดนของเทวดาหรือนางฟ้า และการที่พักอยู่ที่นี่ได้เราก็ต้องอาศัยคุณธรรม ๒ ประการคือ หิริและโอตตัปปะ จิตใจนึกว่าความชั่วเราจะไม่ทำ อายความชั่วทั้งที่ลับและที่แจ้งและเกรงกลัวผลของความชั่วที่จะให้ผล เป็นทุกข์ ถ้าใหม่ๆ ก็อดเผลอไม่ได้ เป็นของธรรมดา ถ้าทำจนชินก็ใช้ได้
ต่อไปก็เป็นมรณานุสสติ คือนึกถึงความตาย ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า ภิกขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายจงอย่าคิดว่าความตายจะเข้าถึงเราในวันพรุ่งนี้ ให้มีความรู้สึกว่าเราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ จะได้ทรงความดีไว้
ต่อไปก็คือกายคตานุสสติ ตัวนี้สำคัญมากนะ มรณานุสสตินี่เป็นพื้นฐานของพระโสดาบันและพระสกิทาคามี อย่าลืมนะว่าอนุสสตินี่ไม่ใช่เรื่องเบานะ หนักมาก อย่างมรณานุสสตินึกถึงความตายเป็นอารมณ์นี่เป็นพื้นฐานให้เป็นพระโสดาบันและพระสกิทาคามี
ต่อไปก็เป็นกายคตานุสสติ คือนึกถึงร่างกาย คือร่างกายไม่มีสภาพทรงตัว มีอาการ ๓๒ มี ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นต้น ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ อย่างนี้ไม่มีการทรงตัว มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น ถ้าเกิดในเบื้องต้นแล้วเสื่อมลงในท่ามกลาง ตัวนี้เป็นวิปัสสนาญาณนะ
ถ้านึกถึงว่าร่างกายเป็นอาการ ๓๒ นี่เป็นสมถภาวนา ถ้าคิดว่าร่างกายนี่มันไม่เที่ยงมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง แล้วมีการแตกสลายในที่สุด อย่างนี้เป็นวิปัสสนาญาณ ต้องควบกัน
กายคตานุสสตินี่เป็นพื้นฐานของพระอนาคามีและพระอรหันต์ คนที่จะเป็นพระอนาคามีได้ก็ดี จะเป็นพระอรหันต์ได้ก็ดี ต้องชำนาญและคล่องในกายคตานุสสติ คือต้องรู้ความจริงว่าร่างกายไม่มีการทรงตัว ไม่ใช่แท่งทึบอันเดียว มันมีอาการทั้ง ๓๒ อย่างเข้าร่วมกัน
ร่างกายนี้มีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายตัวในที่สุด
ในอันดับแรก เราจะทราบว่าความทุกข์ทั้งหลายเกิดจากร่างกาย ถ้าไม่มีร่างกายก็ไม่มีทุกข์ ในตอนต้นพิจารณาไปจะเกิดนิพพิทาญาณ นิพพิทาญาณนี่จะเกิดเบื่อหน่ายในร่างกายของตนเอง เอาร่างกายเรานะ ร่างกายคนอื่นช่างเขา ถ้าความเบื่อหน่ายเกิดขึ้น อันนี้เป็นปัจจัยให้ได้พระอนาคามี
ต่อไปเมื่อเบื่อไปเบื่อมา เบื่อมาเบื่อไป เบื่อถึงที่สุดเกิดวางเฉยในร่างกาย คิดว่าจะเบื่อมันขนาดไหนก็ตาม ร่างกายก็ทรงสภาพแบบนี้ มันแก่ทุกวัน ขณะที่ยังไม่สิ้นลมปราณมันก็ป่วย ในก็หิว ในที่สุดอันก็ตาย
ในเมื่อสภาพมันเป็นอย่างนี้ เราคิดไปจะเบื่อไปก็เรียกว่าไม่มีทางที่จะหนีมันพ้น ในขณะที่เรายังอยู่ในร่างกาย ในที่สุดเราก็ว่าเฉย ก็ถือว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา คำว่าร่างกายหมายถึงธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ
คำว่าเรา ตามภาษาหนังสือท่านเรียกว่า จิต แต่ว่าถ้าภาษาปฏิบัติเขาเรียกว่า อทิสมานกาย มันเป็นกายอีกกายหนึ่งที่สิงอยู่ในกายเนื้อ เพราะกายตัวนี้ที่เข้ามาปฏิสนธิ กายเนื้อจึงเกิด แต่ในเมื่อเราตายไป ท่านบอกว่าถ้าตายดีก็ไปสวรรค์ เลวก็ไปนรก แต่ไอ้กายเนื้อนี่มันไม่ได้ไปด้วย มันจมอยู่กับพื้นแผ่นดิน เขาเผาบ้าง เขาฝังบ้าง เขาโยนทิ้งแม่น้ำไปบ้าง ไม่ได้ไปสวรรค์นรกด้วย เราเท่านั้นที่เป็นผู้ไป
คำว่าเรา ตามภาษาหนังสือท่านเรียกว่า จิต แต่ว่าถ้าภาษาปฏิบัติเขาเรียกว่า อทิสมานกาย
ทีนี้เมื่อร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราแล้ว เราก็บังคับมันไม่ได้ มันจะแก่ก็เชิญแก่ มันจะป่วยก็เชิญป่วย มันจะตายก็เชิญตาย เชิญหรือไม่เชิญมันก็เป็นอย่างนั้น ใจวางเฉยต่ออาการของร่างกาย จิตใจไม่สะดุ้งสะเทือนเมื่อร่างกายแก่ เมื่อร่างกายป่วย เมื่อร่างกายจะตาย ใจวางเฉย
แล้วก็เฉยทุกอย่างในสมบัติของโลก ไม่มีความต้องการผูกมัดจริงจังกับสมบัติของโลก อย่างนี้ท่านเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์
แล้วต่อไปอีกอันก็คือ อานาปานุสสติ คือการรู้ลมหายใจเข้าออก
ก็ขอสรุปว่าก็ขอให้ญาติโยมพุทธบริษัท เลือกเอาตามชอบใจ ตามเวลาที่ต้องการนะ เวลาไหนเราอยากจะนึกถึงพระพุทธเจ้าเราก็นึก นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ถ้านึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ถ้านึกถึงความดีของท่าน จนกระทั่งจิตใคร่ครวญบูชา อย่างนี้จิตจะเข้าถึงอุปจารสมาธิเป็นอย่างสูง ยังไม่เข้าถึงฌาน แต่ไม่เป็นไร
ถ้าต้องการเป็นฌาน ให้นึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง ถ้าไม่เคยได้มโนมยิทธิ สำหรับท่านที่ได้มโนมยิทธิแล้วไม่เป็นไร นั่นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ท่านที่ยังไม่ได้กำลังมโนมยิทธิหรือไม่ได้ทิพย์จักขุญาณ ยังไม่เคยเห็นภาพพระพุทธเจ้า ก็ให้จับภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งตามที่เราชอบ จะเป็นพระพุทธรูปองค์ไหน วัดไหนก็ได้ เหมือนกันหมด นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์นั้น แล้วก็นึกในใจถึงท่าน ถ้าจะใช้คำภาวนา
แต่ความจริงอนุสสตินี่ปฏิบัติจริงๆ เขาไม่ได้ภาวนา เขานึกเอาเฉยๆ แต่ว่าถ้าต้องการจิตเป็นฌาน พระโบราณาจารย์ท่านสอนให้ภาวนาด้วย จิตจับภาพพระพุทธรูปแล้วก็ภาวนาด้วย ถ้าจิตจับภาพพระพุทธรูปแล้วก็ภาวนาด้วย
ถ้าจิตจับภาพพระพุทธรูปแล้วภาวนาด้วย อย่างนี้เป็นฌานได้ถึงฌาน ๔ ได้ เพราะภาพพระพุทธรูปเป็นกสิณถ้าพระพุทธรูปสีเหลืองเป็นปีตกสิณพระพุทธรูปสีเขียวเป็นนีลกสิณ พระพุทธรูปสีขาวเป็นโอทาตกสิณ ถ้าพระพุทธรูปเป็นแก้วใสเป็นอาโลกกสิณ
รวมความว่าเราปฏิบัติได้ทั้งกสิณด้วย พุทธานุสสติกรรมฐานด้วย ขณะใดที่ใจนึกถึง ก็นึกว่านี่เป็นพระพุทธรูปเป็นพุทธานุสสติ ถ้านึกถึงสีเป็นกสิณ แต่ว่าความจริงไม่จำเป็นต้องเป็น สุดแท้แต่ใจมันชอบนะ
ในเมื่อเวลาไหนอยากนึกถึงพระพุทธเจ้าก็นึกถึง อยากนึกถึงพระธรรมก็นึกถึงได้ อยากนึกถึงพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ตามชอบใจ แล้วในการต่อไปก็อยากนึกถึงศีล ว่าศีลที่เราเคยรักษามีกี่สิกขาบท บกพร่องบ้างหรือเปล่า อย่างนี้เป็นสีลานุสสติ นึกถึงได้เป็นคุณทั้งหมด
ต่อไปก็นึกถึงเทวดาคือเทวตานุสสติบ้าง นึกถึงทานการบริจากบ้าง นึกถึงความตายบ้าง นึกถึงร่างกายไม่ดีบ้าง และอุปสมานุสสติคือนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ขณะใดที่นึกถึงพระนิพพานเป็นอุปสมานุสสติกรรมฐาน
ก็รวมความว่าอนุสสติทั้ง ๑๐ ประการนี้ให้นึกตามชอบใจ เวลาไหนชอบใจอนุสสติไหน นึกถึงอย่างนั้นเป็นมหากุศลหมด คำว่ามหากุศลถ้ากำลังอ่อนเต็มที นึกถึงบ้าง กระสับกระส่ายเกินไปบ้าง ก็เรียกว่าทรงตัวไม่ได้นานเป็นขณิกสมาธิ อย่างนี้เป็นเทวดาหรือนางฟ้าในสวรรค์ชั้นกามาวจรได้
ถ้าเป็นอุปจารสมาธิมีจิตใจชุ่มชื่นอย่างนี้ท่านบอกว่าเลือกเกิดในสวรรค์ ๖ ชั้นได้ตามชอบใจ ถ้าจิตทรงตัวอย่างต่ำไม่รำคาญในเสียง อย่างนี้เกิดเป็นพรหม
แต่ถ้าขณะใดที่ภาวนาและนึกถึงอนุสสติใดก็ตาม และเวลานั้นจิตใจเกิดไม่นิยมในร่างกายของเราเอง ร่างกายชาวบ้านช่างเขา ร่างกายของเราความจริงมันมีสภาพเต็มไปด้วยความทุกข์ เราเหนื่อยยากก็เพราะร่างกาย เราป่วยไข้ไม่สบายเพราะร่างกาย เรามีความกระทบกระทั่งใดๆ ก็เพราะร่างกายเป็นเหตุ
แล้วต่อไปถ้าหากว่าเราไม่มีร่างกาย ความทุกข์อย่างนี้จะไม่มี ถ้าคิดอย่างสั้นๆ ก็ร่างกายมันไม่ดีนะ เราไม่ต้องการมันอีก ถ้าเกิดชาติต่อไปเราขอเกิดแดนนิพพานจุดเดียว การเป็นมนษย์ก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี ไม่มีสำหรับเรา
ถ้าคิดอย่างนี้คิดให้เกิดความมั่นใจจริงๆ แล้วก็ภาวนาก็ได้ นึกถึงพระพุทธเจ้าก็ได้ นึกถึงพระธรรมก็ได้ นึกถึงพระอริยสงฆ์ก็ได้ นึกถึงศีลก็ได้ นึกถึงทานการบริจากก็ได้ ให้ตั้งต้นคิดอย่างนั้นเสียก่อน แล้วต่อไปก็นึกถึงอนุสสติอย่างใดอย่างหนึ่งตามใจชอบ
สำหรับญาติโยมพุทธบริษัทที่มานั่งที่นี่ชอบนิพพานเป็นส่วนใหญ่ เราตั้งใจนึกถึงพระนิพพานตรง นึกว่าถ้าเราตายเมื่อไหร่ ขอไปนิพพานเมื่อนั้น หลังจากนั้นจะภาวนาให้ตรงก็ภาวนาว่า นิพพานะสุขัง กำลังใจจะได้ยึดมั่นในนิพพาน เพียงเท่านั้นท่านตายเมื่อไหร่ไปนิพพานเมื่อนั้น

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

สร้างพุทธมณฑลอุดรธานี

udonterritory 800x

chinaraj

bucha04

Trip เที่ยวพม่า

บริษัท แปซิฟิค โปรเกรส จำกัด
21/57 หมู่ 13 ม.ร่มรื่นเพลส ถ. สตรีวิทยา 2 ซอย 29 เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
โทร.&แฟกซ์ : 0-2931-1268 มือถือ : 081-444-3675
E-mail : c.jarunee@hotmail.com
จัดเดินทาง : คุณจารุณี(ฟิน) ไชยชาญ
---------------------------------------------------------------------
พม่าสุดสวย 4 เมือง
ย่างกุ้ง - หงสาวดี - ไจ้ทิโย(พระธาตุอินแขวน) - สิเรียม
2-5 พฤษภาคม 2553 (4 วัน 3 คืน)
อัตราทัวร์ : นักบวช รูปละ 16,600 บาท/ บุคคลทั่วไป ท่านละ 16,900 บาท
กรุณาอ่านโปรแกรมทุกหน้า

วันแรก : สนามบินสุวรรณภูมิ ไทย - ย่างกุ้ง พม่า
17.00 น. พร้อมกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารขาออก ชั้น 4 เคาเตอร์ N สายการบิน Myanmar Air Ways  เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ จะคอยดูแลและอำนวยความสะดวกด้านเอกสารและเชคอินสัมภาระให้ท่าน
19.15 น. ออกเดินทางไปสู่นครย่างกุ้ง ประเทศสาธารณรัฐพม่า โดยสายการบิน Myanmar Air Ways เที่ยวบินที่  8M 332
20.00 น.    (ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 30 นาที) เดินทางถึงสนามบินมิงคลาดง นครย่างกุ้ง ผ่านพิธีตรวจคนเข้าเมืองแล้วนั่งรถเข้าเมือง
เข้าพักที่        โรงแรม Chatrium Hotel  หรือเทียบเท่า

วันที่สอง :    ย่างกุ้ง - หงสาวดี – ไจ้ทิโย (พระธาตุอินแขวน)
เช้า    รับประทานอาหารที่โรงแรม
เดินทางไปเมืองหงสาวดี(Bago) ซึ่งอยู่ห่างจากนครย่างกุ้ง 80 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที(กฎหมายพม่าจำกัดความเร็ว ไม่ให้รถวิ่งเร็วเกินพิกัด)
เมื่อถึงเมืองหงสาวดีแล้วไปเยี่ยมชมและทำบุญที่วัดจักขะวายน์ เป็นวัดสำนักเรียนทางพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของพม่า พระภิกษุและสามเณรซึ่งอยู่ที่วัดแห่งนี้มีประมาณเกือบ 1,000 รูป ร่วมกันทำบุญใส่บาตร ถวายปัจจัยไทยธรรม(ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธา), จากนั้นเดินทางไปกราบบูชาสักการะและชมเจดีย์พระธาตุชเวมอดอร์ องค์เจดีย์มีความสูง 114 เมตรและมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของเมืองหงสาวดี(รวมทั้งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุด 1 ใน 5 อย่างของประเทศพม่า ส่วนสิ่งที่สำคัญที่เหลืออีก 4 อย่าง ได้แก่ เจดีย์ชเวดากอง อยู่ที่เมืองย่างกุ้ง, เจดีย์ชเวสิกอง อยู่ที่เมืองพุกาม, พระธาตุอินแขวน อยู่ที่เมืองไจ้ทิโย, พระมหามุนี อยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์)
(ประวัติของเจดีย์ชเวมอดอร์ มีตำนานเล่าว่าสองพี่น้อง ชื่อมหาศาลและจุลศาลไปค้าขายที่ประเทศอินเดีย ได้อัญเชิญพระเกศาธาตุ 2 เส้นของพระพุทธเจ้ามาด้วย เมื่อมาถึงบ้านเกิดได้สร้างสถูปเล็กๆ ครอบพระเกศาธาตุไว้ ภายหลังมีการขยายให้สถูปใหญ่ขึ้นหลายครั้ง รวมทั้งในสมัยของพระเจ้าตะมะละ และพระเจ้าวิมะละ(ผู้สร้างเมืองหงสาวดี)
จากนั้นนำท่านไปชมพระราชวังทองบุเรงนอง(พระราชวังมีสีทอง) ซึ่งภายในพระราชวังสีทองมีความสวยงามทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม มีพระตำหนักสำหรับออกว่าราชการ และพระตำหนักที่ประทับ ชมบัลลังก์ที่ว่าราชการ และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ของพระเจ้าบุเรงนอง เป็นต้น
*** หมายเหตุ  พุทธสถานที่สำคัญต่างๆ ของประเทศพม่า เช่น วัด หรือเจดีย์ มีความใหญ่โต บริเวณกว้างขวาง รวมทั้งมีสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมมากมาย ซึ่งแต่ละสถานที่มีความงดงามของศิลปะตามเชื้อชาติเจ้าผู้ครองนครแต่ละรัชสมัย เนื่องจากชาวพม่าทั้งหลายมีความเคารพและศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวัน แม้แต่เด็กเล็กก็สามารถสวดมนต์ไหว้พระได้ ดังนั้นแม้ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศพม่าจะยากจน แต่เขาให้ความสำคัญและทุ่มเทแรงกายแรงใจ ทรัพย์สิน และอื่นๆ เพื่อก่อสร้างหรือบูรณะปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญทางพุทธศาสนาให้งดงามยิ่งใหญ่อยู่เสมอ )
กลางวัน        รับประทานอาหารที่ภัตตาคาร Three Five/ Kyaw Sao หรือเทียบเท่า
จากนั้นเดินทางไปกราบนมัสการและชมพระพุทธไสยาสน์ชเวตาเลียว เป็นพระนอนที่มีขนาดใหญ่ นับว่ามีความสำคัญเป็นอันดับสองของเมืองหงสาวดี สร้างในปี พ.ศ. 1537 เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมานาน และมีขนาดใหญ่ที่สุดของเมือง คือ มีความยาว  54.3 เมตร สูง 15 เมตร ชาวพม่าทั้งหลายให้ความเคารพบูชามาก ชมบริเวณที่กว้างใหญ่ และเลือกชมเลือกซื้อสินค้าพื้นเมืองนานาชนิด (เช่น  เครื่องแกะไม้สลักเป็นรูปต่างๆ  กระเป๋าผ้าปัก ผ้าซิ่น โสร่ง รูปภาพต่างๆ เป็นต้น)
จากนั้นออกจากหงสาวดีใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เดินทางไปถึงคิมปูนแคมป์ แล้วเปลี่ยนมานั่งรถบรรทุก 6 ล้อ เพื่อขึ้นไปบนเขา(รถทัวร์ใหญ่ขึ้นไม่ได้เพราะทางการไม่อนุญาต) นั่งรถบรรทุกเดินทางใช้เวลาประมาณ 45 นาที ชมวิวทิวทัศน์ธรรมชาติของป่าไม้และภูเขาซึ่งยาวเป็นทิวแถวตลอดเส้นทาง เมื่อมาถึงหมู่บ้านแล้วเปลี่ยนจากนั่งรถไปนั่งเสลี่ยงซึ่งมีลูกจ้างหาม 4 คนต่อหนึ่งท่าน(หากท่านใดเดินขึ้นเขาไม่ได้ ให้จ้างคนหามขึ้นไปบนเขา ราคาจ้างหามเสลี่ยงรวมขาขึ้นและขาลงท่านละ 20 ดอลลาร์ และจ่ายค่าทิปให้คนหามขาขึ้น 4,000 จั๊ต และขาลงอีก 4,000 จั๊ต(รวมจ่ายค่าทิป 200 บาทเศษ) ส่วนท่านใดแข็งแรงเดินขึ้นไปโรงแรมที่พักข้างบนได้ ระยะทางเดินขึ้นเขาประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ เมื่อไปถึงด้านบนของภูเขาแล้ว นำท่านเก็บสัมภาระที่โรงแรมไจ้ทิโยหรือเทียบเท่า
พักผ่อนสักครู่แล้วนำท่านขึ้นไปชมพระธาตุอินแขวน(ตั้งอยู่บนบริเวณเขาที่มีลานกว้าง) ซึ่งห่างจากโรงแรมใช้เวลาเดินไปประมาณ 15 นาที เชิญไปชมด้วยสายตาของท่านเองว่าองค์พระธาตุอินแขวนตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่สีทอง(เพราะปิดด้วยทองคำเปลว)โดยก้อนหินไม่ตกลงมาได้อย่างไร ทั้งที่ตั้งอยู่ในลักษณะหมิ่นเหม่ ชาวท้องถิ่นเชื่อว่าพระอินทร์แขวนพระธาตุไว้บนอากาศ บริเวณโดยรอบอันกว้างใหญ่ของพระธาตุอินแขวนประกอบด้วยสิ่งต่างๆ มากมาย เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และชมวิวทิวทัศน์ที่งดงามตามธรรมชาติของป่าไม้และภูเขา ด้านล่างที่อยู่ข้างๆ เป็นตลาดขายสินค้าพื้นบ้านทั้งของกินของใช้ สมุนไพรต่างๆ น้ำมันแก้เคล็ดขัดยอกปวดเมื่อย และสินค้าที่ระลึก เป็นต้น
ค่ำ    รับประทานอาหารที่โรงแรมไจ้ทิโย
    หลังอาหารเวลาอิสระแล้วแต่ท่านจะเลือกทำสิ่งตามใจชอบ เช่น พักผ่อนที่โรงแรม ขึ้นไปไหว้พระสวดมนต์ที่พระธาตุอินแขวน เดินเล่นชมวิวทิวทัศน์ เดินชมและซื้อสิ่งของที่ตลาดท้องถิ่น(ที่เปิดตลอดทั้งวันทั้งคืน) โรงแรมที่พักและบริเวณพระธาตุอินแขวนอยู่ใกล้กัน ใช้เวลาเดินถึงกันประมาณ 15 นาที  ไม่มีอันตรายหรือน่ากลัว
หมายเหตุ กรุณาเตรียมกระเป๋าหรือเป้เพื่อใส่เสื้อผ้าและของใช้เพื่อไปค้างคืนบนเขา 1 คืน กระเป๋าเดินทางใบใหญ่ให้เอาไว้ที่รถทัวร์  เพราะรถทัวร์ขึ้นไปไม่ได้(ทางการห้ามรถใหญ่ขึ้น) หากท่านนำกระเป๋าใบใหญ่ขึ้นไป จะต้องเสียค่าจ้างขนสัมภาระ

วันที่สาม :    ไจ้ทิโย  - หงสาวดี - ย่างกุ้ง
รุ่งสาง(เวลาอิสระใครจะไปหรือไม่ก็ได้) เดินขึ้นไปกราบบูชาสักการะพระธาตุอินแขวนก่อนเดินทางกลับ และถ่ายภาพพระธาตุอินแขวนที่งดงามมากในขณะที่พระอาทิตย์กำลังขึ้น อากาศสดชื่นเย็นสบาย ชมวิวทิวทัศน์ของภูเขาและป่าไม้ในยามเช้า
เช้า    รับประทานอาหารที่โรงแรม
หลังอาหารเดินทางกลับไปเมืองหงสาวดี
กลางวัน        รับประทานอาหารที่ภัตตาคาร Three Five/ Kyaw Sao หรือเทียบเท่า
    บ่ายเดินทางไปชมเจดีย์ไจ้ปุ่น สร้างในปี พ.ศ. 2019 พระเจดีย์ก่อเป็นแกนทึบสี่เหลี่ยมอยู่ตรงกลาง มีพระพุทธรูปประทับนั่งสูง 30 เมตร ประดิษฐานอยู่สี่ทิศ แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกัปนี้ 4 พระองค์ (มีตำนานเล่าว่าผู้มีส่วนสร้างพระพุทธรูปเหล่านี้เป็นสตรีสี่พี่น้อง ได้ตกลงกันว่าหากผู้ใดผู้หนึ่งแต่งงาน พระพุทธรูปก็จะพังลงมา)
เดินทางกลับไปเมืองย่างกุ้ง
นำท่านไปชมหอช้างเผือก ชมช้างเผือกที่มีลักษณะคชลักษณ์ที่สง่างาม ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองพม่า ซึ่งหาชมได้ยาก นำท่านไปวัดพระหยกเพื่อกราบนมัสการและชมพระพุทธรูปหยกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พระพุทธรูปหยกนี้สร้างจากหยกก้อนเดียวที่มีน้ำหนัก 500 ตัน ด้านข้างพระหยกทั้งทางซ้ายและขวามีพระหยกสารีบุตรและพระหยกโมคคัลลานะ ภายในบริเวณที่กว้างใหญ่ของวัดพระหยกมีสิ่งที่น่าดูน่าชมต่างๆ ทั้งทางสถาปัตยกรรม จิตรกรรมและประติมากรรมทางพระพุทธศาสนาที่งดงาม
จากนั้นนำท่านไปชมวัดพลตะถ่องที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ภายในบริเวณของวัดพลตะถ่องมีสถานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น เจดีย์พลตะถ่อง เป็นเจดีย์ทรงระฆัง สูง 40 เมตร (มีประวัติเรื่องเล่าว่าประมาณ 2,000 ปีก่อน พระสงฆ์แปดรูปได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ และทางการเคยใช้ทหารถึง 1,000 นาย มาเฝ้ารักษาพระเจดีย์ไว้), วิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำแท้ซึ่งมีความวิจิตรงดงามมาก โดยเฉพาะบุษบกที่รองรับพระพุทธรูปทองคำนั้นตกแต่งอย่างสวยงามประณีต(พระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษทรงให้นำพระพุทธรูปทองคำไปไว้ที่กรุงลอนดอน ในสมัยที่พม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ แต่ภายหลังได้คืนให้พม่า), วิหารพระมหามุนี(องค์จำลองจากเมืองมัณฑะเลย์), พระพุทธรูปองค์ดำใหญ่, วิหารเทพทันใจ(ชาวบ้านจำนวนมากนิยมมาบูชาสักการะเพื่อขอพร เพราะเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ เมื่อตั้งอธิษฐานขอพรแล้วจะสำเร็จรวดเร็วทันใจ) เป็นต้น ชมวิหารเจ้าแม่กระซิบ(เป็นรูปปั้นสตรีสาวสวยชาวพม่าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามประตูวัดเจดีย์พลตะถ่อง)
นำท่านไปชมสถานที่สำคัญที่สุดของการเที่ยวเมืองย่างกุ้ง คือ การไปกราบนมัสการและชมความงามสุดยอดอลังการของเจดีย์ชเวดากอง ภายในองค์เจดีย์เป็นที่ประดิษฐานเส้นพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน และเครื่องบริขารของอดีตพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ บริเวณโดยรอบองค์เจดีย์ มองไปทางไหนจะพบแต่สิ่งที่น่าดูน่าชมทั้งหมด สิ่งก่อสร้างเล็กใหญ่จำนวน 100 หลัง ได้แก่ สถูปบริวาร วิหารทิศ วิหารลาย และศาลาอำนวยการ เป็นต้น เดินชมหอพิพิธภัณฑ์(รวมประวัติเรื่องราวและสิ่งที่สำคัญต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่แห่งนี้) ชมหอระฆังใหญ่มหาติ้ตสะสะที่สวยงามมาก ชมหมู่สถาปัตยกรรมหลังเล็กหลังใหญ่ทั้งหลายที่สร้างด้วยความประณีตบรรจง ภาพจิตรกรรม และเหล่าประติมากรรมต่างๆ มีมากมาย โดยเฉพาะที่งามเด่น คือ ภายในวิหารต่างๆ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสีทองปางต่างๆ ล้วนงดงามยิ่งนัก องค์พระเจดีย์ชเวดากองที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้สร้างด้วยทองคำมีน้ำหนักประมาณ 110 ตัน สูงราว 100 เมตร เริ่มก่อสร้างประมาณ 2,000 กว่าปีมาแล้ว และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาหลายรัชสมัยตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้สถานที่แห่งนี้มีความวิจิตรงดงามตระการตาเสมอ ฉัตรทองคำที่ครอบอยู่สูงสุดบนยอดเจดีย์ประดับตกแต่งด้วยเพชรนิลจินดา อัญมณีทั้งหลาย และของมีค่านานัปการ ที่ชาวพุทธทั้งหลายให้การบูชาสักการะ(ฉัตรทองคำสูง 10 เมตร ตรงยอดฉัตรประดับด้วยเพชรเม็ดเดี่ยวหนัก 76 กะรัต เพชรขนาดอื่นๆ มี 5,448 เม็ด นอกจากนี้ยังมีทับทิม ไพลิน และบุษราคัม ทั้งเม็ดใหญ่เม็ดเล็กรวมกัน 2,317 เม็ด มีมรกตเม็ดใหญ่เขื่องรอรับแสงอาทิตย์ที่สาดส่องจัดวางอยู่ตรงกลาง นอกจากนี้ยังมีระฆังทองและระฆังเงินประดับอยู่ 1,485 ใบ เป็นต้น)  น่าตื่นตาตื่นใจและประทับใจกับสิ่งที่ได้พบเห็น ด้วยความความเคารพต่อพระบูชาสูงสุดต่อพุทธเจ้าทำให้ผู้คนทุกชนชั้น จึงนำของมีค่ามีราคาต่างๆ มาบูชาสักการะพระเจดีย์
ค่ำ    รับประทานอาหารที่ภัตตาคารการะเวก(พร้อมชมการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์พม่า)
เข้าพักที่ Chatrium Hotel    หรือเทียบเท่า   

วันที่สี่ :    ย่างกุ้ง – สิเรียม – สนามบินสุวรรณภูมิ ไทย
เช้า    รับประทานอาหารที่โรงแรม
เดินทางไปเมืองสิเรียม(เมืองท่าการค้าดั้งเดิมของชาวโปรตุเกสที่มาตั้งถิ่นฐานที่พม่า) อยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งนั่งรถไปประมาณ 45 นาที   
นั่งเรือชมวิวของแม่น้ำและข้ามฝั่งไปชมเกาะกลางน้ำหรือเจดีย์กลางน้ำ(เยเลพญา) ผู้สร้างสถานที่แห่งนี้เป็นชาวมอญที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ขณะที่กำลังก่อสร้างท่านได้ตั้งปรารถนาขออย่าให้น้ำท่วมเจดีย์ และให้เกาะกลางน้ำแห่งนี้บรรจุคนได้ไม่รู้จักเต็ม   
บนเกาะกลางน้ำท่านจะได้ชมสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมที่มีความสวยงาม น่าทึ่งที่มีคนมาสร้างงานสถาปัตย์และงานศิลป์บนเกาะกลางน้ำได้อย่างไร  แม้จะเป็นเกาะเล็กๆ แต่มีสิ่งที่สำคัญประดิษฐานอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้หลายอย่าง คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัยสีทองที่งดงามมากประดิษฐานในวิหาร(ที่ผนังของวิหารมีรูปจิตรกรรมสถานที่สำคัญทั้งในประเทศพม่าและประเทศเมืองพุทธต่างๆ เช่น เจดีย์นครปฐม ประเทศไทย), พระเจดีย์สีทอง, วิหารของพระอุปคุต(เป็นพระสาวกที่มีความศักดิ์สิทธิ์และอิทธิฤทธิ์มาก สามารถห้ามตะวันไม่ให้หมุนเลยเที่ยงได้ ดังนั้นจึงมีรูปปั้นสีทองเพราะปิดทองทั้งองค์ ในท่าที่ท่านกำลังนั่งฉันอาหารในบาตร แต่สายตามองไปที่ท้องฟ้า) ชาวพม่าเชื่อว่าเมื่อขอพรแล้วห้ามสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ อย่าให้เกิดขึ้นได้ ช่วงออกพรรษาคนนิยมมาขอพรนับหมื่นคน ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าเกาะเล็กๆ แห่งนี้จะสามารถบรรจุคนได้เป็นพันเป็นหมื่นคน นอกจากนี้บนเกาะกลางน้ำยังมีวิหารของเทพเจ้าทางน้ำ เทพเจ้าแห่งปัญญา เป็นต้น
เดินทางกลับไปเมืองย่างกุ้ง
กลางวัน        รับประทานอาหารที่ภัตตาคาร Western Park หรือเทียบเท่า
ไปกราบนมัสการและชมพระพุทธไสยาสน์เจ่าทัตจี่(คนไทยนิยมเรียกว่า พระนอนตาหวาน เพราะมีขนตายาวงอน ทำให้มีความงดงามมากเป็นพิเศษ ) สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2503 มีความยาว 70 เมตร นับเป็นพระนอนที่งดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศพม่า(แต่เพราะความงามของพระนอนองค์นี้เป็นสิ่งดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยว คนจึงนิยมไปกราบไหว้และถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก นำท่านไปช้อปปิ้งที่ตลาดสก็อต ท่านจะเพลิดเพลินกับการเลือกซื้อเลือกชมสินค้านานาชนิดจากร้านค้านับร้อยๆ ร้าน เช่น สมุนไพรทานาคา ยาดม ผ้าพื้นเมือง ภาพเขียน ภาพผ้าปัก ผ้ากิโมโน(นำเข้าจากญี่ปุ่น มีขนาดเท่าผ้าซิ่น) ผ้าปัก เครื่องถม เครื่องเงิน และอัญมณีต่างๆ เป็นต้น
15.00 น.    เดินทางไปถึงสนามบินมิงคลาดง ย่างกุ้ง เพื่อเดินทางกลับประเทศไทย
16.30 น.    ออกเดินทางไปประเทศไทย โดยสายการบิน Myanmar Air Ways เที่ยวบินที่ 8M    331
18.15 น.    เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ โดยสวัสดิภาพ พร้อมด้วยความประทับใจ สาธุ ...
****************************************

อัตราทัวร์ :     นักบวช รูปละ 16,600 บาท/ คนทั่วไป ท่านละ 16,900 บาท
*** พักห้องคนเดียว จ่ายเพิ่มท่านละ 3,500  บาท ***
อัตราค่าบริการรวม :
    1. ค่าตั๋วกรุ๊ป เดินทางไปและกลับพร้อมกัน โดยสายการบิน Myanmar Air Ways : 8Mรวมทั้งภาษีสนามบินทุกแห่ง(ไทย 700 บาท พม่า 10 ดอลลาร์)   
2. ค่าโรงแรมที่พัก 3 คืน (พักห้องคู่ ห้องละ 2 ท่าน) 
    3. ค่าบริการทำวีซ่าคนไทย (810+100 = 910 บาท)
    4. ค่าประกันอุบัติเหตุวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท (เงื่อนไขตามกรมธรรม์)
    5. ค่าอาหารทุกมื้อที่ระบุตามรายการ(รับประทานที่โรงแรมและภัตตาคาร)
    6. ค่าพาหนะรถปรับอากาศรับ – ส่ง ตามสถานท่องเที่ยวในโปรแกรม
    7. ค่าจ้างหามเสลี่ยงท่านละ 20 ดอลลาร์ (เหมาจ่ายรวมทั้งขาขึ้นขาลง ไม่แยกจ่ายขาเดียว)
    8. ค่าเข้าชมสถานที่ต่างๆ แห่งละ 1 ครั้ง
อัตราค่าบริการไม่รวม : ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือในอัตราค่าบริการวม เช่น
    1.  ค่าระวางน้ำหนักกระเป๋าเดินทางเกิน 20 กิโลกรัม
    2. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าซักผ้า รีดผ้า ค่าอาหาร และเครื่องดื่มสั่งพิเศษ เป็นต้น
    3. ค่าทิปคนงานหามเสลี่ยง 4 คน ขาขึ้นและขาลงรวม 8,000 จั๊ต (ประมาณ 200 บาทเศษ) เพื่อนำท่านขึ้นเขาไปพักที่โรงแรมไจ้ทิโย (หากท่านนำสัมภาระขนาดใหญ่ไปด้วย จะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่ม ดังนั้นควรแยกของใช้เพื่อนำไปค้าง 1 คืน โดยจัดใส่กระเป๋าเล็กหรือเป้ เพื่อเป็นการประหยัดเงินของท่าน) ส่วนผู้ที่แข็งแรงจะเดินขึ้นเขาเองได้ตามอัธยาศัย ระยะทางประมาณเกือบ 3 กิโลเมตร
4. ค่าทิปเพื่อเป็นสินน้ำใจแก่มัคคุเทศก์ท้องถิ่น คนขับรถ และผู้ช่วยคนขับรถ วันละ 100 บาท ต่อคนต่อวัน รวมจ่ายตลอดการเดินทาง 4 วัน ท่านละ 400 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 บาท ประมาณ 26 – 28 จั๊ต)
เอกสารในการยื่นวีซ่า (สำหรับคนไทย)
    1. หนังสือเดินทางที่มีอายุการใช้งานเหลือมากกว่า 6 เดือน นับก่อนถึงวันเดินทาง(กรุณาตรวจวันหมดอายุ) และมีหน้าว่างเพื่อประทับตราวีซ่าและประทับตราขาเข้าขาออก อย่างน้อย 2 หน้า   
          2. รูปถ่ายสี หน้าตรง ขนาด 2 นิ้ว ท่านละ 2 รูป (พื้นหลังรูปถ่ายเป็นสีฟ้า รูปถ่ายนานไม่เกิน 6 เดือน กรุณาใช้รูปถ่ายของร้านถ่ายรูปเท่านั้น งดเว้น รูปถ่ายอื่นๆ ที่ทำเองจากคอมพิวเตอร์
          3. ระยะเวลาในการทำวีซ่ากรุ๊ป 15 วันทำการ
กรณียื่นด่วน เพิ่มค่าบริการ 800 บาทต่อท่าน หรือท่านไปยื่นเองก็ได้ ยื่นวีซ่าเดี่ยวใช้เวลา 3 วันทำการ
4. สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด พร้อมลายเซ็นรับรอง
5. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด (เพื่อกรอกประวัติชื่อและนามสกุลบิดา ในใบคำขอวีซ่า) หากไม่มีทะเบียนบ้าน กรุณาเขียนชื่อ-นามสกุลบิดา ส่งมาให้ด้วย
6. เอกสารทุกอย่างกรุณาส่งภายใน 25 วัน ก่อนวันเดินทาง พร้อมทั้งเบอร์โทรศัพท์เพื่อความสะดวกในการติดต่อ ผู้เดินทางในกรุงเทพฯ ยินดีบริการไปรับถึงที่
ต่างจังหวัดส่งที่ : คุณจารุณี ไชยชาญ / บริษัท แปซิฟิค โปรเกรส จำกัด
    21/57 หมู่ 13 ม.ร่มรื่นเพลส ถ. สตรีวิทยา 2 ซอย 29
    แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว
    กรุงเทพฯ 10230

เงื่อนไขการจอง :
1. กรุณาจ่ายค่ามัดจำเงิน  6,900 บาท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือภายใน 25 วัน ก่อนวันเดินทาง และจ่ายเงินส่วนที่เหลือ 10,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือภายใน 20 วัน ก่อนวันเดินทาง
กรุณาชำระเป็นเงินสดหรือโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร ดังนี้
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโชคชัย 4 ประเภทบัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี นางสาวจารุณี ไชยชาญ เลขที่บัญชี 127-2-05033-2
ธนาคารกรุงเทพฯ สาขาโชคชัย 4 ประเภทบัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี นางสาวจารุณี ไชยชาญ เลขที่บัญชี 230-0-48179-9
2.  หลังจากชำระเงินแล้ว กรุณาแฟกซ์สลิปการโอนเงินมาที่บริษัทฯ หรือโทร.มาแจ้งการโอนเงินที่เบอร์โทร : 0-2931-1268  หรือ 081-444-3675
3.  กรุณาแฟกซ์หน้าหนังสือเดินหรือแจ้งชื่อของท่าน หลังจากชำระเงินแล้ว(เพื่อจองตั๋วเครื่องบินตามชื่อในพาสปอร์ต) หรือส่งหนังสือเดินทางเพื่อเตรียมไปยื่นขอวีซ่า
เงื่อนไขการยกเลิก :
1. ยกเลิกก่อนวันเดินทาง 30 วัน คืนเงินค่าทัวร์ทั้งหมด
2. ยกเลิกก่อนวันเดินทาง 15 – 30 วัน ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนค่ามัดจำทัวร์ในทุกกรณี
3. ยกเลิกก่อนวันเดินทางภายใน 7 – 14 วัน คิดค่าใช้จ่าย 80 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราทัวร์ในทุกกรณี
4. ยกเลิกก่อนวันเดินทางภายใน 1– 6 วัน ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินทั้งหมดในทุกกรณี

สิ่งที่ผู้เดินทางควรทราบหรือจัดเตรียม
ของเหลวทุกชนิด ครีม เจล ของมีคม อาวุธ หรือของที่มีลักษณะคล้ายอาวุธ ห้ามพกพานำติดตัวขึ้นบนเครื่องบิน ไม่เช่นนั้นหากเจ้าหน้าที่ตรวจพบท่านจะถูกริบของหรืออาจจะถูกดำเนินคดี (กรุณาเก็บไว้ที่กระเป๋าเดินทางที่ฝากไว้ใต้ท้องเครื่องบิน)
ของใช้ส่วนตัวทุกอย่าง เช่น ยาประจำตัว กล้องถ่ายรูป วีดีโอ หมวก ร่ม แว่นตา รองเท้า(ที่สวมใส่เดินสบายและถอดง่าย) ไฟฉายเล็ก(กรณีไฟตก) เสื้อกันฝน(เผื่อฝนตกบนพระธาตุอินแขวน) ผ้า หรือแผ่นพลาสติกปูรองนั่ง(สำหรับผู้ต้องการใช้เวลานั่งกับพื้นตามสถานที่ต่างๆ) เครื่องประดับมีค่ามาก กรุณาอย่านำติดตัวมาด้วย มิเช่นนั้นท่านต้องกรอกเอกสารที่นำสิ่งของมีค่าเข้าพม่า
กระเป๋าเดินทางควรล็อคกุญแจ และสวมใส่เครื่องแต่งกายที่สุภาพ เช่น ผ้าซิ่น กระโปรง กางเกงขายาว และขาห้าส่วน  งดเว้น สวมใส่กางเกงขาสั้น/ สวมใส่รองเท้าและถุงเท้า เข้าไปภายในตัวอาคารสถานที่พุทธสถานต่างๆ
หากมีเจตนาจะนำสิ่งของเพื่อไปบูชาสักการะตามสถานที่ต่างๆ เช่น ธูป เทียน ตุ๊กตาม้า(ผู้เกิดปีม้านิยมนำไปบูชาสักการะที่เจดีย์ชเวดากอง) แผ่นทองคำเปลว ผ้าห่มพระพุทธรูป(ซื้อได้ที่วัดพระศรีมหาธาตุฯบางเขน แม่ชีจะทำไว้ขายที่หน้าเจดีย์ตรงตู้บำบุญค่าดอกไม้ ธูปเทียน ราคาผืนละ 100 บาท หากซื้อที่นี้เป็นการทำบุญช่วยเหลือรายได้ของแม่ชี และขนาดของผ้ากำลังดี) ผ้าห่มเจดีย์ เป็นต้น หรือท่านจะนำสิ่งใดไปตามแต่ศรัทธาของท่าน  หากไม่นำสิ่งของไปทำบุญ โดยส่วนใหญ่ตามสถานที่ต่างๆ จะมีตู้ให้ใส่เงินทำบุญ
หากมีเจตนาจะนำสิ่งของเพื่อไปทำบุญหรือถวายทานตามสถานที่ต่างๆ เช่น อาหารและขนมที่เป็นของแห้ง(ได้แก่ หมูฝอย หมูทอด หมูหยอง ขนมปัง ลูกอม หรืออื่นๆ) ปากกา ยาแก้โรคขี้กลาก(ภิกษุ สามเณรที่พม่าส่วนหนึ่งมักจะเป็นโรคนี้)  ย่ามพระ ยาแก้แพ้อากาศ ยาแก้ปวด ผ้าไตรสีเปลือกมังคุด(สอบถามที่คุณจารุณี ผู้จัดทัวร์ได้) แต่สะดวกที่สุด คือ การถวายปัจจัย(เงิน) เพื่อเป็นการบำรุงวัดหรือบำรุงสถานที่
ระบบกระแสไฟฟ้าเหมือนเมืองไทย  ห้องพักที่โรงแรมมีของใช้ครบ(ยกเว้น ที่โรงแรมไจ้ทิโย)
บางสถานที่จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้กล้องถ่ายรูป วีดีโอ ประมาณ 20-30 บาท
อัตราแลกเปลี่ยนเงิน 100 บาท แลกได้ประมาณ 2,600 – 2,800 จั๊ต /  1 ดอลลาร์ แลกได้ประมาณ 990 - 1,000 จั๊ต เงินดอลลาร์ที่นำไปจะต้องเป็นธนบัตรใบใหม่เท่านั้น และต้องผลิตตั้งแต่ปี 2000 ขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน ใบเก่าไม่รับแลกเด็ดขาด
หมายเหตุ :
    - ออกเดินทางตั้งแต่ 15 ท่านขึ้นไป
- กรณีเกิดเหตุสุดวิสัย รายการเดินทางอาจมีการเปลี่ยนแปลงอัตราทัวร์ วัน เวลา และโปรแกรมการเดินทางตามความเหมาะสม ทั้งนี้จะยึดถือเอาประโยชน์ของคณะเดินทางเป็นสำคัญ
- ผู้จัดไม่ขอรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำผิด หรือที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดทัวร์ เช่น ด่านตรวจคนเข้าเมืองไม่อนุญาตให้ท่านเดินทางเข้าหรือออกนอกประเทศพม่า การถูกริบของง อุบัติเหตุ การเจ็บป่วย ภัยจากธรรมชาติ การประท้วง การนัดหยุดงาน สายการบินดีเลย์ หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากเหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น
นอกจากนี้หากท่านใดที่ไม่ร่วมเดินทางไปกับคณะ หรือต้องการถอนตัวไม่ร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมกับหมู่คณะ หรือไม่ใช้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งของการท่องเที่ยวในโปรแกรม ท่านไม่สามารถเรียกร้องเงินค่าบริการในส่วนที่ท่านไม่ได้ใช้บริการคืนได้ เพราะเป็นการท่องเที่ยวแบบเหมาแพคเกจ

เปิดโลกทัศน์ท่องเที่ยว 7 ประเทศ
จีน-พม่า-อินเดีย-เนปาล-ธิเบต-ศรีลังกา-อินโดนีเซีย
... บริการรับจัดเดินทางตามโปรแกรม หรือทัวร์ส่วนตัว จำนวนเท่าใดไม่จำกัด และรับจัดทัวร์ตามวัน เวลา สถานที่ และประเทศที่ท่านต้องการ ...

IMG_0091n IMG_0095n IMG_0203n IMG_0220n IMG_0229n IMG_0349n IMG_0412n IMG_0416n P1010051n P1010083n P1010107n P1010124n P1010144n P1010144n[1] P1010155n P1010158n P1010183n P1010190n

ท่องเที่ยวคุ้มค่า ราคาเป็นธรรม
+++ ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง  +++

พระนางทารา

ทารา (เรียกตามภาษาสันสกฤต) ใน ธิเบต จะเรียกกันว่า Jetsun Dolma ซึ่ง ทารา ที่นับถือกันโดยทั่วไปก็คือ พระโพธิสัตว์ ใน พุทธนิกายมหายานนั่นเอง ซึ่งปรากฏกายในรูปของเพศหญิง

โดยนิยมบูชากันเพื่อให้สำเร็จในหน้าที่การงาน ว่ากันว่า ทารา เป็นเทพที่ผู้ฝึกปฏิบัตสมาธิในทางวชิรยานของทิเบต ให้การเคารพนับถือกับเป็นอย่างมาก พระนางคือ “พระแม่แห่งการหลุดพ้น” ผู้เป็นตัวแทนแห่งความบริสุทธิ์และการกระทำที่นำไปสู่ความรู้แจ้ง คำว่า “ทารา” หรือบ้างก็เรียกว่า “ตารา” นั้นมีที่มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตของคำว่า “ตริ” ที่แปลว่า “ข้าม” ดังนั้นจึงสื่อความหมายถึง ผู้ที่พาสรรพสัตว์ข้ามพ้น มหานทีแห่งการเวียนว่ายตายเกิด และความทุกขเวทนา

เชื่อกันว่า พระนางทารา คอยเฝ้ามอง ช่วยเหลือ สรรพสัตว์ในวัฏสงสาร โดยได้รับความเคารพนับถือเป็นอย่างมากในแถบ ทิเบต และ มองโกเลีย ซึ่งพระนางทารา เป็น เทพทางพุทธศาสนา ที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของลามะ และ พระ ทั่วไป แต่ก็ได้รับความนิยมในการเป็น พระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งเช่นกัน (เช่นเดียวกับ เจ้าแม่กวนอิม ของประเทศจีน)
ทารา มีด้วยกัน 21 รูปนาม แต่ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางคือ

พระนางทาราเขียว

พระนางทาราเขียว

พระนางทาราเขียว เชื่อกันว่าท่านจะคอยปกป้องคุ้มครองจากความกลัว ความโชคร้ายทั้งปวง ที่เกิดจาก ความไม่รู้ 8 ประการ ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมขึ้นในมนุษย์ ซึ่งเปรียบออกมาเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้ คือ

  1. สิงโต (ความทะนงตน)
  2. ช้างป่า (ความเชื่อที่ผิด และ ความโง่เขลา)
  3. ไฟ (ความโกรธ และ ความเกลี่ยดชัง)
  4. งู (ความอิจฉา ริษยา)
  5. โจรผู้ร้าย (ความคลั่งไคล้ ความเลื่อมใส ในทางที่ผิด)
  6. ทาส (ความโลภ ความตระหนี่)
  7. น้ำล้น (ความปรารถนา ความอยาก สิ่งผูกติดทางอารมณ์)
  8. วิญญาณร้าย (ความหลง)

พระนางทาราขาว

พระนางทาราขาว

พระนางทาราขาว เชื่อกันว่าท่านรักษาอาการ ความเจ็บไข้ได้ป่วย ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้ผู้นับถือมีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพจิตดี ทำให้ อายุยืนยาว และกล่าวกันว่ารัศมีของพระนางขาวนวลเฉกเช่นกับแสงจันทร์
พระนางทาราแดง สอนให้ตระหนักรู้ถึงวิธีการที่จะปรับเปลี่ยนกิเลสตัณหา เป็นความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และความรัก ดลบันดาลให้เจอแต่สิ่งดีๆ
พระนางทาราน้ำเงิน (Ekajati) ได้รับการนับถือให้เป็นผู้ปกป้องนิกายนิงมะ (เป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาในทิเบต ถือกำเนิดจากอาจารย์ชาวอินเดียคือ ปัทมสัมภวะ ที่เดินทางมาทิเบตเมื่อ พ.ศ. 1350 ซึ่งได้รับการนับถือจากชาวทิเบตอย่างกว้างขวาง และเป็นผู้สร้างวัดสัมเยซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในทิเบต ปัทมสัมภวะ ได้เผยแพร่คำสอนของนิกายตันตระ จนมีสานุศิษย์ที่สำคัญหลายคน) ซึ่งพระนางทาราน้ำเงินนี้มีพลังอำนาจมาก เพื่อใช้ในการปกป้องพระธรรมคำสั่งสอนนั่นเอง

ความเป็นมาของพระนางทารา

พระเจ้าซรอนซันกัมโป (กลาง) เจ้าหญิงเวนเชิง (ขวา) เจ้าหญิงภริคุติ (ซ้าย)

พระเจ้าซรอนซันกัมโป (กลาง) เจ้าหญิงเวนเชิง (ขวา) เจ้าหญิงภริคุติ (ซ้าย)

บางที่บอกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวร ในภาคเพศหญิง บางตำนานก็ว่าท่านมาจากน้ำตาของ พระอวโลกิเตศวรในตอนที่ท่าน เห็นความทุกยากของสรรพสัตว์ที่มีมากมาย ซึ่งเรื่องน้ำตาที่หลั่งออกมานี่เอง ทำให้ชาวธิเบตเชื่อว่า น้ำตาข้างขวาที่หลั่งออกมาคือ เจ้าหญิงภริคุติ (Bhrikuti Devi) ซึ่งเป็น ราชธิดาของพระเจ้าอังศุวรมันแห่งเนปาล และ น้ำตาข้างซ้ายคือ เจ้าหญิงเวนเชิง (Wencheng) ราชธิดาของพระเจ้าถังไท้ซุงแห่งประเทศจีน โดยทั้งสองเจ้าหญิงได้อภิเสกสมรส กับ พระเจ้าซรอนซันกัมโป (Songtsän Gampo) ซึ่งถือเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของธิเบต (ตามที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน) เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับ เนปาล และจีน เพราะ ทิเบตในสมัยนั้นมีอำนาจทางทหารมาก จึงเป็นที่ยำเกรงแก่ เนปาล และ จีน ซึ่งเป็นประเทศข้างเคียง พระชายาทั้งสององค์นี้นับถือพุทธศาสนา และได้นำศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่ในทิเบต รวมถึง เผยแพร่แก่ พระเจ้าซรอนซันกัมโปด้วย จึวทำให้ พระเจ้าซรอนซันกัมโป ส่งเสนาบดีของพระองค์คือ ทอนมีสัมโภทา ไปศึกษาศาสนาพุทธในอินเดีย เมื่อกลับมา สัมโภทา ได้ประดิษฐ์อักษรทิเบต และเขียนไวยากรณ์ภาษาทิเบต ส่งผลให้มีการแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเป็นภาษาทิเบต นอกจากนี้ พระองค์ได้วางระเบียบปฏิบัติ 16 ข้อ ที่ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกของทิเบต และย้ายเมืองหลวงจากยาลุงไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่นครลาซา ซึ่งจะเห็นได้ว่า เจ้าหญิงภริคุติ และ เจ้าหญิงเวนเชิง นั้นทรงสร้างกุศลคุณงามความดีให้แก่ชาวทิเบตเป็นอย่างมาก ชาวทิเบต จึง ยกยกให้ เจ้าหญิงภริคุติ เปรียบเสมือนเป็น พระนางทาราเขียว (green tara) และ เจ้าหญิงเวนเชิง เปรียบเสมือนเป็น พระนาง ทาราขาว (white tara) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต

พระพุทธศาสนามหายาน มี พระพุทธเจ้า สามองค์ เป็นประธาน ได้แก่ พระศากยมุนี และ พระไภษัชยคุรุ

ในบรรดาพระพุทธเจ้ากับพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในพระพุทธศาสนามหายาน มีพระพุทธเจ้าสามองค์เป็นประธาน

ได้แก่ พระศากยมุนี พระพุทธเจ้าในปัจจุบันกาล พระอมิตาภะ เจ้าแห่งดิน แดนสุขาวดี พุทธเกษตรในทิศตะวันตก และ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต หรือ "พระพุทธเจ้าหมอ" หรือ "หมอของกายและ วิญญาณ" ด้วยเหตุที่ พระไภษัชยคุรุทรงเป็น "ผู้รักษา" ที่ทรงดูแลเหล่าผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และพระอมิตาภะ ทรงเป็น "ผู้ปลอบประโลมใจ" ที่ทรงดูแลผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว ทั้งสององค์จึงเป็นตัวแทนของคำสอนที่มีเหมือนกันหมดในทุกๆ สายของพระพุทธศาสนา
พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต - พระพุทธเจ้าหมอ ในวัดต่างๆในเอเซียตะวันออก พระไภษัชยคุรุ จะทรงประทับ เป็นหนึ่งใน พระประธานสามองค์ ซึ่งมีพระศากยมุนี อยู่ตรงกลาง และ พระไภษัชยคุรุ อยู่ทางขวาของพระศากยมุนี โดย พระหัตถ์ขวาของ พระไภษัชยคุรุทรงยกขึ้น และทรง ทำพระหัตถ์อยู่ในรูปของการให้ และความกรุณา พระหัตถ์ซ้าย ทรงถือโถยา วางไว้บนพระเพลา (บางครั้งในโถก็มี ผลไม้ที่ใช้เป็นยา หรือพระสถูป) โถยานี้มัก จะทาเป็นสีน้ำเงินเข้ม อันเป็น สีของแก้วไพฑูรย์ และเป็นลักษณะ เฉพาะของพระองค์ แม้ว่าบางครั้ง รูปของพระองค์บางรูปไม่มีโถนี้

พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าที่พบเฉพาะในนิกายมหายาน พระนามของท่านหมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค ผู้มีรัศมีสีน้ำเงินดังไพฑูรย์ พระนามอื่นๆของท่านคือ พระไภษัชยคุรุตถาคต พระมหาแพทย์ราชาพุทธเจ้า พระมหาไภษัชยราชพุทธเจ้า เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีน

ในความเชื่อของชาวจีน รูปของพระองค์อยู่ในท่านั่งสมาธิ มีรัตนเจดีย์วางบนพระหัตถ์ ส่วนในความเชื่อของชาวทิเบต พระองค์มีกายสีน้ำเงินเข้ม นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาถือยาสมุนไพร (นิยมเป็นเห็ดหลินจือ) พระหัตถ์ซ้ายถือบาตรวางบนพระเพลา ถือกันว่าทรงเป็นพระพุทธเจ้า ที่สามารถรักษาโรคทางกาย และโรคทางกรรมของสัตว์โลก

กรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ต่างก็เกิดจากจิตทั้งสิ้น หากการสร้างนิมิตภาพของพระไภษัชยคุรุ หรือการท่องพระนามของพระองค์ ทำให้จิตของผู้นั้นเปลี่ยนจากโลภะ โทสะ โมหะ มาเป็นความไม่มีตัวตน ความกรุณา และ ปัญญา การเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้น อกุศลกรรมของเขาก็จะเปลี่ยนไปในทางที่เป็นกุศล การละทิ้งโลภะ โทสะ โมหะ โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับ ร่างกายเพียงใด ก็จะหายไปในทีสุด
พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต แพร่หลายในไทย ในรูปของ "พระกริ่ง" เป็นพระทำจากโลหะ ข้างในกลวง และใส่เม็ดโลหะข้างใน เรียกว่าเม็ดกริ่ง เวลาเขย่า จะมีเสียงดังกังวาน เรียกว่าพระกริ่ง และพระกริ่งทุกองค์ ต้องถือหม้อยา เป็นลักษณะเฉพาะ แต่ของเขมร นิยมสร้างในรูปของพระปางนาคปรก

พระสูตรที่กล่าวถึงพระไภษัชยคุรุโดยมากคือ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร เดิมเขียนด้วยภาษาสันสกฤต ต่อมาแปลเป็นภาษาจีนโดยพระถังซำจั๋ง กล่าวถึงปณิธาน 12 ข้อของพระไภษัขยคุรุคือ

  1. ช่วยให้สรรพสัตว์บรรลุโพธิญาณโดยเร็ว [ขอให้ร่างกายรุ่งเรืองด้วยรัศมีประดุจเปลวไฟ ส่องสว่างไปทั่วบริเวณทั้งหลาย โดยปราศจากขอบเขตสมบูรณ์ ด้วยพุทธลักษณะ มหาบุรุษ 32 ประการ และลักษณะวิเศษอีก 80 ประการ(อสีตยานุพยัญชนะ) และขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในความเสมอภาคเช่นเดียวกับพระองค์]
  2. ช่วยให้สรรพสัตว์ตื่นจากความโง่เขลา [ขอให้ร่างกายปราศจากมลทินทั้งภายใน และภายนอก ทรงคุณธรรมยิ่งใหญ่ ประทับนั่งอย่างสงบ มีรัศมีสว่างกว่าพระอาทิตย์ และพระจันทร์เป็นผู้นำปัญญา แห่งสรรพสัตว์ที่ยังข้องอยู่ในกิเลส]
  3. ช่วยให้สรรพสัตว์ถึงพร้อมด้วยของใช้ทั้งปวง [ขอให้มีปัญญาอันหาขอบเขตมิได้ ในการช่วยสรรพสัตว์ให้ล่วงพ้นจากความยากจนทั้งหลาย]
  4. ช่วยให้สรรพสัตว์หันมานับถือมหายานธรรม [พระองค์จะนำพาสรรพสัตว์ที่เดินทางผิดไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง ของสาวกยาน, ปัจเจกพุทธยานและมหายาน]
  5. ช่วยให้สรรพสัตว์มีศีลบริสุทธ์ [พระองศ์จะนำพาสรรพสัตว์อันประมาณมิได้ ซึ่งปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ ไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจด ทั้งในเบื้องตน ท่ามกลางและบั้นปลาย แม้แต่เพียงได้ยินชื่อพระไภษัชยคุรุย่อมไม่ตกในอบาภูมิทั้งสาม]
  6. ช่วยให้สรรพสัตว์มีกายสมบูรณ์ [ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่อ่อนแอ และ พิการ รูปร่างน่าเกลียด โง่เขลา ตาบอด หูหนวก มือลีบ เท้าลีบ หลังค่อม เป็นโรคเรื้อน สติฟั่นเฟือน และมีโรคภัยหายคืนสู่อาการปกติทั้งกาย และใจ เพียงแค่ ได้ยินพระนาม ของพระองค์เท่านั้น]
  7. ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากความยากจน [ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ผู้ทุกข์ทรมานด้วยอาการปวดไข้ ทั้งยังเป็นบุคคลอนาถา ไร้ญาติ ขาดที่พึ่ง ปราศจากแพทย์และยารักษาโรคภัย ทันทีที่บุคคลเหล่านี้ได้ยินพระนามของพระองค์ ขอให้หายจากโรคภัยทั้งปวง ประสบสุข ทั้งกายและใจถึงพร้อมด้วยญาติมิตร และโภคสมบัติ]
  8. ช่วยให้สตรีได้เป็นบุรุษตามปรารถนา [หญิงใดที่ต้องทนทุกข์ทรมาน และบังเกิดความเบื่อหน่าย ทั้งต้องการหลุดพ้น ความเป็นอิสตรี เพียงแค่เอยขาน หรือได้ยินพระนาม ของพระองค์ จะกลับร่างเป็นชายโดยสมบูรณ์]
  9. ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากอุบายของมาร [หากผู้ใดต้องคำสอนในอวิชชา พระองค์จะช่วยให้สรรพสัตว์เหล่านั้น พ้นจากกความหลงผิด และบังเกิด ความเชื่อมั่นในสัจธรรม นำเขาเหล่านั้นดำเนินชีวิตตามแนวทาง

พระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์

พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์ตี้จั้งหวัง หรือ พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ แปลว่าพระโพธิสัตว์ผู้เป็นครรภ์แห่งแผ่นดินหรือเป็นนัยยะว่าพระองค์ ทรงสถิต อยู่ใต้พื้นพิภพ

เพราะพระองค์มีมหาปณิธานว่า "ตราบใดที่ยังมีสัตว์หลงเหลือในนรกภูมิ แม้เพียงหนึ่ง พระองค์จะมิทรงเข้าสู่พุทธภูมิ" ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าสัตว์ในนรกนั้น มีจำนวนมากมายกว่าประชากรบนสวรรค์ และโลกมนุษย์มาก เนื่องจาก คนทำชั่วมีมากกว่าคนทำดี ด้วยพระองค์ทรงประกาศ มหาปณิธานที่ยิ่งใหญ่ และยากยิ่งที่จะสำเร็จได้ สาธุชน จึงสดุดีพระองค์ว่า "พระมหาปณิธานโพธิสัตว์ " และพระวจนะหนึ่ง ของพระองค์ ที่เป็นที่ซาบซึ้ง ประทับใจ สรรพสัตว์ทั้งปวง ว่า " หากเรามิเข้าสู้นรกภูมิแล้วไซร้ ผู้ใดเล่าจะเป็นผู้เข้านรกภูมิ "

ตามประวัติกล่าวว่า ท่านเดิมมีพระนามว่า กิมเคียวกัก ประสูติวันที่ 30 เดือน 7 ตามปฏิทินจีน พ.ศ. 1239 เป็นมกุฎราชกุมาร แห่งราชอาณาจักร ชินลอก๊ก (ปัจจุบันคือกรุงโซลประเทศเกาหลีใต้) เจ้าชายเคียวกักทรงผนวชเมื่ออายุ 24 ชันษา ในปีพ.ศ.1196 พระองค์ท่านชอบความสงบและการนั่งฌานสมาธิ จึงตัดสินใจไปแสวงหาความสงบปลีกวิเวกตามป่าเขา โดยนั่งเรือ ตามลำพัง กับสุนัขแสนรู้สีขาว (ชื่อว่า ซ่านทิง) แล่นเลียบไปตามชายฝั่งจนถึงปากแม่น้ำแยงซีเกียงในประเทศจีน เนื่องจากเรือเกยตื้น จึงสละเรือแล้วเดินเท้า กระทั่งถึงเขตอำเภอชิงหยางเสี้ยน มณฑลฮุยเสิ่น ซึ่งเป็นที่ตั้ง ของภูเขาจิ่วหัวซัน อันมี ทัศนียภาพ แปลกประหลาดด้วยมีพื้นที่ราบอยู่กลางหุบเขา เจ้าชายกิมเคียวกัก จึงเลือกปากถ้ำแห่งหนึ่ง ใกล้ที่ราบ เป็นที่พำนัก ที่เชิงเขามีคหบดีคนหนึ่งชื่อหมิ่นกง เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณเขาจิ่วหัวซัน หมิ่นกงเป็นคน ใจบุญสุนทาน ต้องการจะถวายที่ดินเพื่อสร้างธรรมสถาน จึงขึ้นเขาไปหาเจ้าชายกิมเคียวกัก แล้วแจ้งความประสงค์ จะถวายที่ดิน ให้สร้างธรรมสถานโปรดสัตว์ตามแต่ที่เจ้าชายกิมเคียวกักต้องการ ทันใดนั้นเจ้าชายกิมเคียวกัก ก็ได้โยนผ้า พระกาสาวพัสตร์ ขึ้นไป ในอากาศ ก็ปรากฏว่ามีร่มเงา ของผ้ากาสาวพัสตร์ทั้งผืน แผ่ปกคลุมไปทั่วภูเขา จิ่วหัวซัน หมิ่นกงจึงได้ถวายที่ดินภูเขาทั้งลูกให้แก่เจ้าชายด้วยความยินดี

หมิ่นกง มีบุตรชายคนหนึ่งซึ่งมีความศรัทธาในท่านอาจารย์ กิมเคียวกัก เป็นอย่างมากจึงได้ขอบวชนาม พระเต้าหมิง ต่อมา หมิ่นกงเล็งเห็นว่า เป็นการสะดวก ในการฟังธรรม จึงปวารณาเป็นศิษย์ของลูกชาย วันหนึ่งเจ้าชายกิมเคียวกัก ได้เรียกพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมาชุมนุมเพื่ออำลา แต่บรรดาพระภิกษุสงฆ์ต่างไม่เข้าใจว่า ท่านจะไปไหน เจ้าชายกิมเคียวกักได้แต่นั่งขัดสมาธิอย่างสงบ และ ละสังขารในที่สุด ตอนนั้นท่านมีอายุได้ 99 พรรษา แล้วนั่งสงบไปอีก 20 ปี จนถึงปี พ.ศ. 1300 ร่างของท่านก็ยังคงอยู่ในท่าสมาธิ เกิดเป็นอัศจรรย์ บรรดาสาธุชนจึงได้รวบรวมปัจจัยสร้างเจดีย์ขึ้น เจ้าชายกิมเคียวกักนี้ ได้รับการยกย่องว่า เป็น พระกษิติครรภโพธิสัตว์ (เต่จงอ๋อง) มาโปรดสัตว์แล้ว

มิคติความเชื่อที่มิถูกต้องยิ่งนักที่ว่า "พระกวนอิมโปรดเฉพาะคนเป็น พระตี่จั้งโปรดเพาะคนตาย" ทำให้ พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ (พระตี่จั้ง) ไม่เป็นที่นิยมกราบไหว้ในครัวเรือน เพราะผู้ไม่รู้เข้าใจว่า จะเป็นการชักนำ ดวงวิญญาณ ให้ตามพระองค์เข้ามาในบ้านด้วย โดยที่แท้แล้วเมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงแสดง อานิสงค์แห่งการบูชา พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ไว้ถึง 28 ประการคือ

  1. เทพนาคาปกปักษ์รักษาและระลึกถึงอยู่เป็นนิจ
  2. กุศลผลบุญเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นทุกทิวากาล
  3. เป็นการสร้างสมอริยมรรคเป็นสมุกฐาน ทั้งยังถือเป็นเหตุปัจจัยแห่งกุศลกรรม
  4. ไม่ท้อถอยในการบังเกิดโพธิจิต
  5. สมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคตลอดกาล
  6. แคล้วคลาดปราศจากโรคาพยาธิ
  7. รอดพ้นจากอุทกภัย อัคคีภัย
  8. นิราศจากโจรภัยมาเบียดเบียน
  9. เป็นที่เคารพยกย่องของนรชนไปทั่ว
  10. เทพารักษ์คุ้มครองอุ้มชูช่วยเหลืออยู่เสมอ
  11. สตรีปรารถนากลับเพศเป็นบุรุษ
  12. เกิดในตระกูลวงศาแห่งกษัตริย์และอำมาตย์
  13. มีรูปอินทรีย์ กายอินทรีย์สมบูรณ์
  14. ได้อุบัติในแดนสวรรค์
  15. ภพหน้าจะได้กำเนิดเป็นพระมหาราชาธิราช
  16. สามารถหยั่งรู้ระลึกเหตุการณ์ในอดีตชาติ
  17. คิดประสงค์สิ่งใดย่อมได้ดั่งปรารถนา
  18. ญาติและบริวารเสวยแต่ความสุขปราศจากทุกข์
  19. สิ่งอัปมงคลทั้งหลายสูญหายมลายสิ้น
  20. ไม่ต้องบังเกิดในทุคติภูมิ
  21. หากสัญจรไป ณ แห่งใดย่อมได้รับความสะดวก
  22. ในยามราตรีย่อมมีสุบินในทางศุภมงคล
  23. บรรพบุรุษและญาติวงศ์ที่ล่วงลับไปแล้วจะได้หลุดพ้นจากทุกขภูมิ
  24. กำเนิดในภพหน้าจะเป็นผู้มีวาสนาสูง
  25. ได้รับการยกย่องจากพระอริยเจ้าทั้งหลาย
  26. มีสติปัญญารอบรู้เป็นเลิศ
  27. มีจิตเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมเป็นสมุฏฐาน
  28. จะได้สำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่สุด

คุณธรรมพิเศษ
มีเมตตาสูงส่ง เป็นโพธิสัตว์ที่มีปณิธานที่จะโปรดสัตว์นรกให้พ้นจากกรรมทุกข์เข็ญ
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
พระ กษิติครรภโพธิสัตว์ แปลตรงตัวหมายความถึง ที่เก็บหรือครรภ์แห่งผืนแผ่นดิน พระองค์ท่านมีปณิธานคล้ายคลึงกับ พระแม่กวนอิม แต่ผิดไปจากพระแม่กวนอิม ก็คือ พระองค์ท่านต้องการที่จะโปรดสัตว์ที่มีอยู่ในนรกให้หมด ฉะนั้น ในพิธีศพ จึงนิยมบูชาท่าน จึงกลายเป็นความเชื่อที่ว่างานศพจะต้องบูชาท่าน ส่วนพิธีมงคล นิยมบูชา พระแม่กวนอิม กระทั้งเกิดคำว่า “พระกวนอิมโปรดคนเป็น เต่จงอ๋องโปรดคนตาย” ซึ่งความจริง ท่านก็โปรดคนเป็น เช่นเดียวกัน กับพระแม่กวนอิม
ปาง
โดย มากรูปเคารพของท่านมักจะสวมหมวกสีขาวซึ่งเรียกว่า “มาลา 5 พระพุทธองค์” ซึ่งหมวกนี้เป็นของ พระชาวธิเบต ประกอบพิธีทางมนตรยานนิกาย ในการโปรดสัตว์นรก โดยที่ท่านมีปณิธานโปรดสัตว์นรกมาก จิตรกรจึงมัก นิยมวาดภาพท่าน เป็นพระที่กำลังสวมหมวก และประกอบพิธีโปรดสัตว์นรกไป

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์

Manjushri

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ มีชื่อเรียกที่หลากหลาย อาทิเช่น พระโพธิสัตว์เหวินซู พระมัญชุนาถ พระวาคีศวรม บุ้นซู้พู่สะ  ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีปัญญาสูงสุด

พระโพธิสัตว์เหวินซู หรือ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ มีประวัติความเป็นมาหลากหลายตำนาน เช่น

พระองค์กำเนิดจากพระนลาฎของ พระศากยมุนีพุทธเจ้าด้วยลำแสงที่พุ่งออกไปนั้น ตัดต้นไม้ต้นหนึ่งที่ภูเขาอู่ไถ่ แล้วบังเกิดดอกบัวมารองรับ พระมัญชุศรี ขึ้นมา ดังนั้น พระโพธิสัตว์พระองค์นี้ จึงไม่แปดเปื้อนครรภ์มลทิน แต่อย่างไร
อีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า คหบดีจีนท่านหนึ่ง ต้องการเลี้ยงพระทั้งวัด บนภูเขาอู่ไถ่ พระจึงชักชวนคนยากจนมารับทานด้วย เพราะพระโพธิสัตว์มัญชุศรี มักจะสอนเน้น ให้คนทั้งหลายมีความเสมอกัน ไม่แบ่งแยกระหว่างคนรวยกับคนจน ไม่แบ่งแยกระหว่างพระกับฆราวาส ด้วยเหตุนี้พระองค์ จึงใคร่อยากรู้ใจมนุษย์ จึงจำแลงร่าง เป็นหญิงขอทาน ที่กำลังตั้งครรภ์ คหบดีรำคาญใจมาก ที่เห็นชาวบ้านพวกนี้ เพราะตั้งใจมาทำบุญเลี้ยงพระ เพียงอย่างเดียว ครั้นมาถึงคิวหญิงขอทาน นางบอกว่า ต้องการข้าว 2 จาน จานหนึ่งสำหรับตนเอง อีกจานหนึ่งสำหรับลูกในท้อง เจ้าของงานไม่ยอม นางจึงไม่ยอมกินอาหารนั้น และเดินออกจากวิหารไป กลายเป็นพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เหาะขึ้นท้องฟ้าพร้อมด้วยเทพบริวารตระการตา เป็นเหตุให้ เจ้าของงาน และทุกคนที่อยู่สถานที่นั้น ก้มกราบขมาลาโทษต่อ พระโพธิสัตว์์ กันถ้วนหน้า ตั้งแต่นั้นมา ถือเป็นนโยบาย ของเขาอู่ไถ่ว่า หากต้องการเลี้ยงพระ ก็ต้องทำทานต่อผู้ยากไร้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีอีกว่า เคยเป็นอาจารย์ของพระพุทธเจ้า หรือเป็นบุตร องค์ที่สาม ของพระอมิตาภะพุทธเจ้า แต่ที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือ ในสมัยพุทธกาล พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ถือกำเนิด ในแคว้น แห่งหนึ่งของอินเดีย กำเนิดในวรรณะพราห์ม ภายหลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ก็บวชเป็นสาวก (ในศาสนาพุทธนิกายหินยาน จะถือพระสารีบุตรเป็นผู้มีสติปัญญาสูงสุด แต่ใน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน จะถือพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เป็นผู้มีสติปัญญาสูงสุด) ผู้บูชากราบไหว้พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ มักขอพร ให้มีความฉลาด มีสติปัญญาหลักแหลมอยู่เสมอ ในประเทศจีนเชื่อกันว่าพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ สถิตอยู่ ณ เทือกเขา อู่ไถซาน

พระองค์มี ชื่อเรียกมากมาย อาทิ พระมัญชุโฆษ (ผู้มีเสียงเพราะ) , พระมัญชุนาถ , พระวาคีศวร คนจีนเรียกบุ้นซู้พู่สะ เป็น พระโพธิสัตว์ แห่งมหาปัญญา ในประเทศธิเบต ให้ความเคารพต่อพระโพธิสัตว์องค์นี้มาก ฉายาของพระองค์ เรียกแตกต่างกันไป อาทิ ไต้ตี่ (มหามติ - มีปัญญาใหญ่) , ไทจือ (ราชกุมาร) , เชยปี่ก๊าจู๊ (ธรรมราชผู้มีแขนหนึ่งพัน) ทรงประสูติเมื่อวันที่ 4 เดือน 4 ทางจันทรคติแบบจีน พระนามเต็มของพระองค์ คือ พระมัญชุศรีกุมารภูติโพธิสัตว์ ทรงประทับบนหลังราชสีห์ อันราชสีห์นั้นเป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งหลาย ไม่หวาดหวั่น ครั่นคร้ามต่อสัตว์ใดๆ เปรียบเช่น พระพุทธเจ้าและโพธิสัตว์ ไม่หวาดหวั่น ท้อถอย ต่อการประกาศสัจธรรม และเมื่อราชสีห์คำราม บรรดาสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ต่างก็หลีกไป เฉกเช่น พุทธองค์ ประกาศธรรม ทำให้คำสอน ของเดียรถีย์ทั้งหลาย ด้อยรัศมีไปฉันนั้น ราชสีห์นี้บางครั้งเรียก "สิงหอาสน์"
บุ้นซู้ผ่อสัก หรือ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เป็นพระมหาโพธิสัตว์ ที่มักได้รับการเอ่ยถึงในพระสูตร และตั้งองค์พระปฏิมาให้อยู่คู่กับ "โผวเฮี้ยงพู่สะ" หรือ "โผวเฮี้ยงผ่อสัก" หรือ "พระสมัตภัทรมหาโพธิสัตว์" ทรงได้รับการยกย่อง ให้เป็นหัวหน้า ของบรรดาพระโพธิสัตว์ นับร้อยนับพันที่มาเฝ้าชุมนุมพระศากยมุนีพุทธเจ้า ทรงเป็น "พระฌานิโพธิสัตว์" ที่ถือกำเนิด ก่อนสมัยพุทธกาล ทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสามารถในการแสดงธรรม ทรงมุ่งมั่นให้สัตว์โลกได้พ้นทุกข์ และบรรลุธรรมอย่างไม่ทรงเกรงกลัวต่อความยากลำบาก
พระมัญชุศรีกุมารภูติโพธิสัตว์ ถือเป็นปัญญาคุณ ของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงมีพระวรกายเป็นหนุ่มน้อยวัย 16 ปี (ไม่แก่หรืออายุมากไปกว่านี้) พระหัตถ์ขวาทรงวัชรศัสตรา หรือ พระแสงขรรค์ หรือ ดาบอันคมกริบ ไว้คอย ตัดอวิชชา และนิวรณ์ทั้ง 5 อันได้แก่ กามฉันทะ (พอใจในกาม) พยาบาท (คิดร้าย) ถีนมิทธะ (หดหู่เซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจะ (ฟุ้งซ่านและความกระวนกระวายใจ) เพื่อให้ธรรมแห่งพุทธองค์มีความแจ่มชัด พระหัตถ์ซ้าย ทรงพระคัมภีร์ปรัชญา ปารมิตาสูตร หรือ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่ามุทราก็มี ในส่วนของพระเศียร ทรงมาลา เป็นรูปใบไม้เรียงกัน 5 ใบโดยมี พระอักโษภยะพุทธเจ้า อยู่เหนือมงกุฎนั้น

หลังจากที่ พระศากยมุนีพุทธเจ้าได้เสด็จปรินิพพานไปแล้ว 250 ปี พระมัญชุศรี ไปประกาศ พระศาสนา ที่แคว้นเนปาล ได้กำจัดสัตว์ร้าย ในสระน้ำที่แคว้นนั้นจนหมดสิ้น เพราะหน้าที่ของพระองค์คือ การกำจัดอวิชชา กำจัดความโง่เขลา และ ช่วยเหลือพระศาสนาให้แพร่หลาย
นอกจากนี้ยังเชื่อว่า พระองค์คือ องค์อุปถัมภ์ในด้าน กวีวัจนะ ในทางวาทศิลป์ รวมถึงภาษาศาตร์ต่างอีกด้วย ดังนั้น ที่ประเทศเนปาล จึงมีผู้คนกราบไหว้บูชาท่าน เพื่อให้เกิดความเฉลียวฉลาด และมีความจำดี พูดและเขียนเก่ง ซึ่งประเพณีนี้ดูละม้าย การบูชาพระนางสรัสวดี (ชายาของพระพรหม) ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ซึ่งเด็กๆ นิยมบูชานาง ในฐานะเทพเจ้าแห่งวาทศิลป์ ดนตรี และวิทยาศาสตร์ ในวันวสันตะปัญจมี

ในประเทศธิเบต ยังมีการสร้างภาคดุร้ายของพระมัญชุศรีด้วย ปางนั้นคือ ยมานตกะ โดยสร้างตำนานขึ้นตามตำนานที่กล่าวว่า พระมัญชุศรี ลงไปยังยมโลก พระยายมมีศีรษะเป็นกระบือ พระมัญชุศรีจึงต้องแปลงร่างเป็นเช่นนั้น เพื่อให้พระยายมกลัว ทั้งที่พระยายม เป็นเจ้าแห่งความตาย แต่ยังเกรงในพระบารมี จนแลเห็นความไม่สิ้นสุดของพระโพธิสัตว์์พระองค์นี้ ชาวธิเบต นิยมเพ่งรูปยมานตกะเพื่อเอาชนะความตาย

ลักษณะของ ยมานตกะ มีศีรษะเป็นวัว กายสีน้ำเงินเข้ม มีหลายแบบ ประจำอยู่ทิศใต้ของพุทธมณฑล ผมสีน้ำตาล ตกแต่งร่างกาย ด้วยพวงมาลัยหัวกะโหลก ถือหัวกะโหลกบรรจุเลือดและไม้เท้าที่เสียบศีรษะอยู่ เท้าเหยียบ บนร่างของมนุษย์ อสูร และ ยักษ์  รูปลักษณ์อื่น ของยมานตกะมีอีกหลายแบบ ตัวอย่างเช่น วัชรไภรวะ (สายฟ้าผู้น่ากลัว) ซึ่งมีเก้าหัว สามสิบสี่แขนและสิบหกเท้า ลักษณะดังกล่าวนี้คล้ายคลึงกับ ยิดัม (เทพผู้พิทักษ์ ของทางทิเบต ลามะชั้นสูงบางรูปอาจมียิดัมคอยอารักษ์) อีก 2 องค์คือ เหรุกะ และมหากาฬ

มหาบุรุษโพธิสัตว์ ที่ชาวธิเบตให้การยกย่องนั้นมี อวโลกิเตศวร , มัญชุศรี และ วัชรปาณี ด้วยเหตุที่เป็นสัญลักษณ์ ของ กรุณา ปัญญา และ พละ ตามรูปศัพท์แล้ว มัญชุศรี แปลว่า ผู้มีเสียงไพเราะ และ มีความสามารถพิเศษ ในการเทศนา ให้คนเกิดปัญญาได้ ตาม คติในฝ่ายมหายานนั้น ยกย่องให้พระองค์ เป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญา และคุ้มครองนักปราชญ์ ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของวิทยาศาสตร์ และการแสวงหาสัจจะทั้งปวง ด้วยเหตุนี้ การบูชาพระโพธิสัตว์์ พระองค์นี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความชาญฉลาด มีความจำดี และสามารถ จดจำคัมภีร์ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ
พระโพธิสัตว์มัญชุศรี ได้รับการยกย่อง และนับถือกันมากใน เมืองสารนาถ แคว้นมคธ เบงกอล เนปาล และ ธิเบต คัมภีร์ซึ่งทรงถือนั้นคือ ปรัชญาปารมิตา ซึ่งถือเป็นคัมภีร์ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่จะมาตรัสรู้
พระนามของพระองค์ปรากฏครั้งแรกในคัมภีร์อมิตยุสสูตร เพราะพระองค์เป็นหัวหน้ากลุ่มพระโพธิสัตว์บนเขาคิชฌกูฎ และ ในคัมภีร์คัณฑวยุหสูตร กล่าวว่า ความยิ่งใหญ่ของพระองค์นั้นเทียบเท่ากับพระอวโลกิเตศวร ผู้ใดที่จะบรรลุ พระสัมมาสัมพุทธะ ต้องได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์เสียก่อน
ในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตรนั้น พระศากยมุนีพุทธเจ้า ได้ตรัสถึงฐานะของพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ว่าเป็นผู้รักษาพระสูตรนี้ และเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนาในช่วง 500 ปีสุดท้าย

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์

พระสมันตภัทรมหาโพธิสัตว์

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ ประทับอยู่บนหลังช้าง เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ เปรียบเป็นเช่น พระโพธิสัตว์ ต้องรับภาระอันหนักอึ้ง ที่จะนำเวไนยสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย เปรียบดังช้าง ที่เป็นไปด้วย แรงของกิเลสตัณหา พระโพธิสัตว์ดังควาญช้าง ซึ่งมีหน้าที่ฝึกปรือให้ช้างนั้นเชื่อง มีความอ่อนโยน และควาญช้างนั้น สามารถนำช้างไปสู่จุดหมายปลายทางได้

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ บ้างก็เรียกท่านว่า พระโพธิสัตว์แห่งมนตรา เป็นพระโพธิสัตว์ ที่ถือกำเนิด จากพระไวโรจนพุทธเจ้า ในนิกายตันตระบางนิกาย ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เพราะทรงประทาน ความรุ่งเรือง และความสงบสุขให้แก่ชาวโลก วันประสูติของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ คือ วันที่ 21 เดือน 2 ตามจันทรคติแบบจีน

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ ทรงได้ชื่อว่า เป็นพระโพธิสัตว์ผู้ทรงเป็นเลิศในทางจริยาและมหาปณิธาน ด้วยทรง มุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ ซึ่งถือเป็นภาระอันหนักหน่วง ภาพพระปฏิมา ของพระองค์ จึงทรงคชสารเป็นช้างเผือก 6 งา (คัมภีร์มหายานเรียกว่า ช้างฉัททันต์) เพราะถือว่าช้าง เป็นสัตว์ที่ทรหดอดทน เป็นการอุปมาอุปไมยถึงการโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ทั้งหมด ว่าเป็นงานที่ยากแสนเข็ญ ต้องใช้ความอดทน อย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเอาชนะกิเลส และตัณหาของสัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวง

พระนามของท่านมีความหมายว่า “ ความปรารถนาดีอันประเสริฐที่สุด แห่งพิภพ ” ในพระวิหารของวัดโดยทั่วไป พระโพธิสัตว์ผู่เสียน จะอยู่ในตำแหน่งด้านขวามือ คอยปรนนิบัติพระศากยะมุนีพระพุทธเจ้าเสมอ พระโพธิสัตว์ผู่เสียน ซึ่งมีประวัติความเป็นมาหลายตำนานด้วยกัน

คัมภีร์หัวเหยียนจิง ของจีนกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ผู่เสียนคือบุตรชายคนโตของพระยูไล ว่ากันว่า ในบรรดา พระทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ผู่เสียนคือ พระองค์แรก

คัมภีร์เปยหัวจิง ของจีนกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ผู่เสียน คือ บุตรองค์ที่แปด ของ พระอมิตาภะ พุทธเจ้า มีศักดิ์ เป็นพี่น้องกับ พระโพธิสัตว์เหวินซู และ พระโพธิสัตว์กวนอิม ในตำนานของจีนจากคัมภีร์เสี่ยวเชิ่งจิง กล่าวว่า ในสมัยก่อนมีกษัตริย์พระองค์หนึ่งนาม เมี่ยวจวง มีพระธิดาสามพระองค์ พระโอรสหนึ่งพระองค์ พระธิดาองค์โต ภายหลังเป็นพระโพธิสัตว์เหวินซู พระธิดาองค์รองภายหลังเป็นพระโพธิสัตว์ผู่เสียน พระธิดาองค์เล็ก ภายหลังเป็น พระโพธิสัตว์กวนอิม และพระโอรส ภายหลังเป็น พระโพธิสัตว์ตี้จั้งหวัง

จาก ตำนานดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันในบางประเด็น อาจกล่าวได้ว่า ในสมัยอินเดียโบราณ มีการจัดแบ่ง ชนชั้นวรรณะ ตำนานชี้ให้เห็นถึงความใกล้ชิด ของพระโพธิสัตว์ผุ่เสียนกับพระพุทธเจ้า ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า พระโพธิสัตว์ผู่เสียน หากไม่ได้เป็นพระญาติที่มีความใกล้ชิดกับพระพุทธองค์ ก็อาจเป็น เชื้อพระวงศ์ ของกษัตริย์ แค้วนใดแคว้นหนึ่ง องค์ผู่เสียน ชาวจีนโบราณขนานนามท่านว่า “ ผู่เสียนผู้เป็นใหญ่แห่งความเพียร ” ผู้กราบไหว้ พระโพธิสัตว์ผู่เสียน มักขอพรให้ตนเองประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน หรือ การประกอบธุรกิจ ผู้กราบไหว้บูชามักสมหวังดังสิ่งที่อธิษฐานขอ ทั้งนี้จากรูปลักษณะ ขององค์ผู่เสียน พระหัตถ์ซ้าย จะถือหยก หรูยี่ ( หยกแห่งความสมหวัง ) ในประเทศจีนเชื่อกันว่าพระโพธิสัตว์ผู่เสียน สถิตอยู่ ณ เทือกเขาง๊อไบ๊ ( ภาษาจีนกลางเรียก เทือกเขา เอ๋อร์เหม๋ยซาน )

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ ทรงสอนไว้ว่า พึงเคารพบูชาพระพุทธเจ้าทั้งปวง การเคารพบูชา พระพุทธเจ้านั้น จะต้องเป็น การเคารพบูชา อันประกอบด้วย กาย วาจา ใจ (อันแน่วแน่ และบริสุทธิ์เปี่ยมด้วยความตั้งใจ) ที่สมบูรณ์

พระพุทธเจ้า ที่พึงเคารพบูชานั้นมีจำนวนมากมายมหาศาล (เกินสติปัญญาของมนุษย์จักประมาณได้) ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต อาศัยปณิธานแห่งข้าพเจ้า (พระสมันตภัทร์) ข้าพเจ้าเชื่อโดยปราศจากข้อกังขาใด ๆ (ประดุจดัง พระพุทธเจ้าทั้งปวงเสด็จมาปรากฏอยู่เบื้องหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอภิวาทบูชาด้วย กาย วาจา ในที่แน่วแน่ บริสุทธิ์ และจักเคารพบูชาเช่นนี้ตลอดไป ในแต่ละพุทธเกษตรอันมีจำนวนมากมายประมาณมิได้ จักปรากฏกาย ของข้าพเจ้า ขึ้นในทุกสถาน และทุกกายจักอภิวาทบูชาพระพุทธเจ้าอันมีจำนวนประมาณมิได้เช่นกันหากโลกแห่ง ความว่างเปล่า มีขอบเขตเมื่อใด การบูชาของข้าพเจ้าก็จักสิ้นสุด แต่หากโลกแห่งความว่างนั้นไร้ซึ่งขอบเขต การบูชาพระพุทธเจ้า ก็จักไม่มีวันสิ้นสุดหากโลกของสรรพสัตว์ กรรมของสรรพสัตว์ ทุกข์ของสรรพสัตว์มีที่สิ้นสุด การบูชาของข้าพเจ้า ก็จักสิ้นสุดหากว่าโลกของสรรพสัตว์ กรรมของสรรพสัตว์ และทุกข์ของสรรพสัตว์ไม่มีที่สิ้นสุด ดั้งนั้น การบูชา ของข้าพเจ้าก็จักไม่มีวันสิ้นสุด ข้าพเจ้าจักเคารพบูชาสืบไปไม่หยุดหย่อน ด้วย กาย วาจา ใจ อย่างไม่อ่อนล้า ไม่เบื่อหน่าย

หากผู้ใดตั้งปณิธานจักบำเพ็ญบารมีตามเสด็จพระพุทธองค์แล้วพึงตั้งปณิธานและปฏิบัติดั้งนี้
ปณิธานข้อที่ 1 เคารพบูชาพระพุทธเจ้าทั้งปวง
ปณิธานข้อที่ 2 สรรเสริญพระตถาคตทั้งปวง
ปณิธานข้อที่ 3 ถวายบูชาแด่พระตถาคตทุกพระองค์
ปณิธานข้อที่ 4 ขมาอกุศลธรรมทั้งปวง
ปณิธานข้อที่ 5 อนุโมทนากุศลทั้งหลาย
ปณิธานข้อที่ 6 ทูลอาราธนาให้ทรงแสดงพระธรรม
ปณิธานข้อที่ 7 อาราธนาให้ประทับอยู่ในโลกต่อไป
ปณิธานข้อที่ 8 ขอศึกษาพระธรรมให้เจนจบ
ปณิธานข้อที่ 9 ขออนุโลมตามสรรพสัตว์
ปณิธานข้อที่ 10 ขออุทิศกุศลทั้งมวลแก่สรรพสัตว์

พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์แรกในอนาคตที่จะมาประสูติเพื่อประกาศพระธรรม กล่าวกันว่าขณะนี้พระศรีอาริยเมตไตรยได้บำเพ็ญพระโพธิญาณอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตาภูมิเพื่อรอการประสูติเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อย้อนไปในยุคของพระสิริมัตตะพุทธเจ้า พระศรีอาริยเมตไตรยทรงเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าสังข์จักรจอมจักพรรดิ์แห่งนครอินทปัตต์ วันหนึ่งทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาใกล้ๆเมืองอินทปัตต์ทรงดีพระทัยยิ่งจึงรีบเสด็จไปด้วยพระบาท

เพียงหนึ่งวันพระบาททั้งสองก็แตกช้ำ วันที่สามพระชงฆ์ก็แตกยับพระโลหิตนอง วันที่สี่ไม่สามารถเสด็จต่อไปได้แต่ด้วยพระวิริยะและจิตมุ่งมั่นที่จะเข้าเฝ้าจึงกระเถิบไปด้วยพระอุระ พระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยญาณทิพย์จึงแปลงเป็นมาณพหนุ่มขับเกวียนพาไปถึงที่พำนักของพระพุทธเจ้า พระอินทร์และมเหสีทั้งสี่ได้แปลงเป็นหญิงชาย นำห่อข้าวทิพย์และน้ำทิพย์มาให้เสวย

เมื่อพระองค์หายบอบช้ำจึงเสด็จไปในพระวิหาร เพียงแรกพบพระพุทธเจ้าก็ทรงสลบลงด้วยความปลื้มปิติ เมื่อฟื้นพระวรกายจึงตรัสว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า" และมิได้ตรัสอะไรได้อีกด้วยความยินดีพระทัย พระองค์ขอสดับธรรมของพระพุทธเจ้าเพียงบทเดียวเพราะไม่มีสิ่งใดถวายบูชาพระธรรมเทศนา จึงทรงตัดพระเศียร (ศีรษะ) ด้วยพระนขา (เล็บ)ถวายเป็นพุทธบูชา และในยุคของพระโคตมพุทธเจ้า พระศรีอาริยเมตไตรยทรงเป็นพระสงฆ์สาวกของพระโคตมพุทธเจ้า พระนามว่าพระอชิตเถระ ครั้งหนึ่งทรงได้รับพุทธยากรณ์ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต กล่าวกันว่าพระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะทรงตรัสรู้ที่ไม้กากะทิง มีพระชนม์ 8หมื่นพรรษา พระวรกายสูง 80 ศอก

พระวัชรปาณีโพธิสัตว์

คนจีนเรียกพระวชิรปาณีโพธิสัตว์ว่า ซี้กิมกังพู่สะ มีกายสีเขียว ถือวชิระเป็นอาวุธ ศักติชายาชื่อ สุชาดา ซึ่งโดยภาพรวมแล้วละม้ายคล้ายคลึงกับพระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูค่อนข้างมาก พระองค์มีหน้าที่ในการปราบยักษ์มาร เป็นผู้บันดาลฝนและช่วยเหลือเมื่อคราวที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าเสด็จออกบวช และปรินิพพาน ดังนั้นจึงสามารถเนรมิตกายได้หลายลักษณะ และมักสร้างให้มีลักษณะน่ากลัว บ้างก็เป็นรูปกายมนุษย์ มี 3 ตา มีเส้นผมรุงรัง สวมมงกุฏกะโหลกมนุษย์ มีงูเป็นสายสังวาลย์ ภูษาทรงหนังเสือ ซึ่งลักษณะนี้คล้ายพระศิวะมหาเทพในศาสนาพราหมณ์ มีปางต่างๆ มากมาย อาทิ นีรามปาลาวัชรปาณี อจละวัชรปาณี และมหาจักรวัชรปาณี เป็นต้น

กิมกัง แปลว่า วัชระ ทรงเป็นพระธยานิโพธิสัตตว์ ที่เกิดจากอำนาจฌานของพระธยานิพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าเป็น " พระอักโษภยพุทธเจ้า " แต่ก็มีตำนานกล่าวว่า ทรงเป็นพระมหาโพธิสัตว์ผู้ทรงรักษาพระศาสนาของ " พระโกนาคมพุทธเจ้า " ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 26 ใน 28 พระพุทธเจ้าที่อยู่ในบางตำนานของหินยาน

พระวัชรปาณีหรือพระอินทร์ เป็นหนึ่งในพระโพธิสัตว์ที่ชาวธิเบตยกย่อง แต่ดั้งเดิมนั้นเป็นเทพในยุคแรกๆ ของพวกอารยัน พระอินทร์เป็นเทพซึ่งยังความอุดมสมบูรณ์ ต่อมาได้เกิดความขัดแย้งกันขึ้น เนื่องด้วยมีชนอีกกลุ่มหนึ่งนำพระวรุณขึ้นมาแทนที่ ความขัดแย้งนี้เองทำชาวอารยันต้องรบพุ่งกัน เนื่องจากความคิดต่างกันเป็นเหตุ ฝ่ายหนึ่งต้องอพยพมาทางใต้ และเป็นปฐมบรรพบุรุษของชนชาติอิหร่าน อีกฝ่ายหนึ่งข้ามอัฟกานิสถานเข้าอินเดีย จนเกิดเป็นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

ปัจจุบันพระอินทร์หมดบทบาทไปจากศาสนาฮินดู เนื่องด้วยมีการสร้างมหาเทพขึ้นมารองรับความเชื่อ แต่พระอินทร์กลับมามีบทบาทในทางพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับพระพรหม แม้จะได้ชื่อว่าเป็น 1 ใน 3 มหาเทพของฮินดู แต่บทบาทน้อยเต็มที ไม่มีเทวสถานเป็นของตนเองอย่างมหาเทพพระองค์อื่น พระอินทร์หรืออีกนัยหนึ่งว่า วัชรปาณีโพธิสัตว์นั้น ไม่เคยปรากฏว่า อยู่โดดเดี่ยวช่วยเหลือสัตว์โลกแต่เพียงลำพัง มักมาพร้อมเทพบริวารอื่นๆ เพราะพระอินทร์นั้นมีบริวาร 33 คน พุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั้น พระองค์มักจะเสด็จมาพร้อมกับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์และพระปัทมปาณีโพธิสัตว์ (ปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์) เนื่องด้วยพระอินทร์มีวัชระเป็นอาวุธคู่กาย จึงจัดอยู่ในวัชรสกุล อันมีพระอักโษภยะพุทธเจ้าและพระนางโลจนาเทวีเป็นหัวหน้ากลุ่ม วัชระนั้นมีความหมายว่า " สายฟ้า " อันเป็นคุณสมบัติเดิมของพระอินทร์อยู่ครบถ้วน

เทพนิยายที่เกี่ยวข้องกับพระวัชรปาณีโพธิสัตว์มีว่า พระศากยมุนีพุทธเจ้ารับสั่งให้คอยปกป้องพญานาคจากการทำร้ายของเหล่าครุฑ เนื่องจากพญานาคได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ควบคุมฝนฟ้า ดังนั้นพระวัชรปาณีจึงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งฝน พุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานจะทำพิธีขอฝนก็ต้องบูชาพระโพธิสัตว์พระองค์นี้

พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ (大勢至菩薩)

 

พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์อัครสาวกของพระอมิตาภะพุทธเจ้า เคียงคู่กับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระองค์มีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า "ไต่ ซี้ จี(大勢至) หรือ เต็ก ไต่ ซี้(得大勢)บางแห่งเรียก ไต่ ซี จู้(大勢主)" ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน อันมีความหมายของพระนามดังนี้

มหา () แปลว่า ยิ่งใหญ่,มหาศาล

สถามะ() แปลว่า เดชานุภาพ,พละกำลัง

ปราปต์() แปลว่า เข้าถึงแล้ว,บรรลุแล้ว

ดังนั้นพระนามของพระองค์จึงคือ พระโพธิสัตว์ผู้ทรงบรรลุแล้วซึ่งเดชาพละยิ่งใหญ่พระมหาสถามปราปต์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ที่แสดงถึงพระพลาธิคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง คล้ายกับพระมัญชุศรีที่ทรงเป็นองค์แทนแห่งพระปัญญาธิคุณ พระอวโลกิเตศวรทรงเป็นองค์แทนแห่งพระกรุณาธิคุณพระจุณฑิทรงเป็นองค์แทนแห่งพระบริสุทธิคุณเป็นต้น พระมหาสถามปราปต์จะทรงถือดอกปัทมาในพระหัตถ์บางครั้งจะทรงประณมหัตถ์ไว้ที่พระอุระ บางครั้งจะทรงถึงวัชระ จึงทำให้พระองค์มีอีกพระนามว่า พระวัชรหัตถ์ บางแห่งเรียก พระวัชรปาณี(金剛手) ก็มี ในพระสุขาวดีวยูหสูตร(無量壽經) กล่าวว่าเมื่อครั้งสมัยที่พระอมิตาภะพุทธเจ้ายังทรงเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเมื่อกาลก่อนทรงมีพระโอรส ๑,๐๐๐ พระองค์ มีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เป็นพระโอรสองค์โต และมีพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์เป็นพระโอรสองค์รอง ทั้ง ๓ พระองค์ทรงประกาศมหาปณิธานจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้ถึงที่สุด ณ เบื้องพระพักตร์แห่งพระรัตนครรภ์พุทธเจ้า (寶藏佛) ส่งผลให้ทั้ง ๓ พระองค์ทรงเป็นพระโลกนาถเจ้าแห่งสุขาวดีโลกธาตุ และยังทรงเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณาคุณปกแผ่ไพศาลมา เพื่อโปรดสรรพสัตว์ยังโลกทั้งปวงไม่เว้นแม้แต่โลกแห่งความทุกข์ที่นี้ด้วยในพระศูรางคมธารณีสูตร (楞嚴經) กล่าวว่า พระมหาสถามปราปต์กราบทูลต่อพระพุทธเจ้าถึงปฏิปทาแนวทางปฎิบัติของพระองค์ว่า ในจิตของพระองค์มีแต่น้อมระลึกและเรียกขานแต่พระนามของพระอมิตาภะพุทธเจ้าอยู่ตลอดลมหายใจ และทรงปฏิบัติเช่นนี้มาตลอดนานนับหลายอสงไขยกัลป์ แม้นในปัจจุบันที่พระองค์ทรงได้บรรลุเป็นพระมหาโพธิสัตว์แล้วก็ยังทรงภาวนาถึงพระอมิตาภะอยู่ทุกวาระจิตเช่นเคย ซึ่งพระมหาสถามปราปต์ทรงให้เหตุผลว่า ประดุจบุตรร้องเรียกหาผู้เป็นมารดาตลอด แล้วผู้เป็นมารดาจะทอดทิ้งบุตรผู้นั้นได้อย่างไร (เปรียบเทียบว่าพระพุทธเจ้าทรงรักและเมตตาสรรพสัตว์ทั้งปวงดุจมารดาอาทรต่อบุตร) ด้วยอานิสงค์แห่งการระลึกถึงพระคุณแห่งพระอมิตาภะพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นยิ่งใหญ่ไพศาลปานฉะนี้ ดังนั้นสาธุชนที่ได้ทราบแล้วสมควรปฏิบัติตามแนวทางภาวนาแห่งพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์เจ้าเถิด

วันคล้ายวันโพธิสัตวสมภพคือ วันที่ ๑๓ เดือน ๗ จีน

บุคคลที่เกิดปี มะเมีย พึงภาวนาให้ใจรู้สึกสบายๆสักพักแล้วจึงกราบอธิษฐานขอพร

ข้าพเจ้าขอกราบอธิษฐาน   แด่  พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ นี้    ขอองค์ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ทรงโปรดช่วยคุ้มครองป้องกันภัย ขอให้ภัยพิบัติต่างๆ จงผ่านพ้นข้าพเจ้าไป หมดเหตุแห่งทุกข์ โศก โรค ภัย ให้มีแต่ความสุข ความเจริญ มั่งมีศรีสุข มีอายุยั่งยืนยาว มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และเป็นที่รักใคร่ของบุคคลโดยทั่วไป จงประสบผลสำเร็จในชีวิตครอบครัวทุกประการ ตลอดไปเทอญ ข้าพเจ้าจะกระทำแต่กรรมดี   สาธุ   สาธุ   สาธุ

ขอขอบคุณที่มา ::

โดย...ภิกษุจีนวิศวภัทร (沙門聖傑 )

วัดเทพพุทธาราม(仙佛寺) จ.ชลบุรี (ปี ๒๕๔๘)

พระสูตรมหายานแปลไทย จาก www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระโพธิสัตว์กวนอิม 78-84

เจ้าแม่กวนอิม 0078

78. ผ่อลูกิตตี
นี่คือพระโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นมัญชูศรีโพธิสัตว์ นั่งอยู่บนสิงหอาสน์ ฝ่ามือหนึ่งชี้ขึ้นฟ้า เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงธรรม
คำว่า ผ่อลูกิตตี หมายถึง สัทธรรมไม่มีความสิ้นสุด บรรดาผู้ปฏิบัติจะได้จากความบริสุทธิ์เข้าถึงสุขาวดี
ประโยคนี้ เป็นคาถาที่พระโพธิสัตว์ย้ำถึงความลึกซึ้งของมนตร์ความจริงมีการเกิดก็ต้องมีการตาย มีความชนะก็ต้องมีความพ่ายแพ้ แต่ชาวโลกยินดี ต่อการเกิด เกลียด ความตายแต่ผลที่สุด ก็ต้องตาย อยู่นั่นเอง ฉะนั้น ถ้าต้องการให้อายุยืนยาวจะต้องหาความเป็นจากความตาย

เจ้าแม่กวนอิม 0079

79. ชอพันลาเย
นี่คือพระโพธิสัตว์ ปลดประสาทตาที่รับรูป เป็นลักษณะดอกบัวทองพันกลีบ เพื่อให้เหล่าสัตว์โลกละประสาทตาและรูปภายนอกอันเป็นความหลงผิด เห็นภาวะของตนเอง
คำว่า ซอพันลาเย หมายถึง ผู้ปฏิบัติต้องการ สำเร็จเป็นธรรมกายอันบริสุทธิ์ จะต้องละล้างประสาทตา จึงจะได้เห็นสัทวิสัยอันเป็น อนุตร
ประโยคนี้ เป็นการแนะให้เห็นมหามรรคโดยตรง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีทางจะแสวงหาได้ ไม่หลงเข้าที่ผิด และก็หมายถึงการปฏิบัติธรรมต้องปิดทวาร ทั้ง 6 กำจัดประสาทตา
เพื่อไม่ต้องรับบาปเพราะ รูปตาเป็นมารที่ขัดขวางการเข้าถึงธรรมฉะนั้น ถ้าต้องการไปเกิดในสุขาวดีภูมิ ต้องละประสาทตาให้ขาดหมด

เจ้าแม่กวนอิม 0080

80. ซอผ่อฮอ
นี่คือพระโพธิสัตว์ บรรยายหูประสาทไปวิพากษ์เสียง วางแขนสีทองคำลงมาเบื้องล่าง ให้เหล่าสัตว์ละหูประสาทและเสียงอันไม่เป็นความจริง ได้ฟังความสูญแห่งสภาวะของตน ต่อกับประโยคก่อน ก็หมายถึงแม้จะละประสาทตาแล้ว หูก็เป็นที่ขัดข้อง กีดขวาง จึงต้องละไปเช่นกัน ฉะนั้น สำเร็จในวิสัยอันเป็นอนุตระ เพราะถ้าหูประสาทไม่บริสุทธิ์ ก็ไม่มีทางได้ฟังธรรมและบรรลุมรรค เราต้องทำให้หูประสาทสะอาด ให้จิตไม่ตามเสียงพเนจรไปทางนอก ฉะนั้น การปฏิบัติ ต้องให้การดูการฟังย้อนกลับ ให้ย้อนกลับไปตามธรรมชาติ แล้วธาตุ 4 ขันธ์ 5 ไม่ต้องทำให้สะอาด ก็จะสะอาดเอง ไม่สูญก็สูญเอง ย่อมสมบูรณ์ในความเป็นธาตุแห่งความเป็นสูญที่แท้จริง

เจ้าแม่กวนอิม 0081

81. งัน สิตตินตู
นี่คือพระโพธิสัตว์ บรรยาย ถึงการดมกลิ่นต่าง ๆ เป็นรูปชูนิ้วทั้ง 5 เพื่อให้สรรพสัตว์เห็นความปลอมแปลงในการดมกลิ่นของประสาทจมูก ซึ่งมาจากภายนอก และรู้ไปถึงสภาวะ รากมูลของสภาวะ เป็นสูญ
คำว่า งัน มีความหมาย เป็นการนำให้เกิด เป็นมารดา ของวรรดาธารณี
คำว่า สิดตินตู คือ ความสำเร็จของธาตุแห่งตน เป็นจุดรวมของการปฏิบัติธรรม คือ การปฏิบัติธรรมจะต้องละการดมของจมูกจึงเข้าถึงความบริสุทธิ์
ประโยคนี้ เมื่อรวมกับประโยคก่อน ก็หมายถึง การปฏิบัติจะต้องมีจิตสงบ ให้การหายใจสม่ำเสมอ จากหยาบไปถึงละเอียดกระทั่งไม่รู้สึกว่ามีการหายใจ

เจ้าแม่กวนอิม 0082

82. มันตอลา
นี่คือพระโพธิสัตว์ บรรยาย เรื่องลิ้นประสาทไปชิมรสเป็นรูปชูมือตูละนุ่น ให้ละลิ้นประสาทในการชิมรส รู้ ถึงเป็นการปลอมแปลง แล้วเข้าถึงสภาวะของตนมีความเป็นสูญ
คำว่า มันตอลา เป็นธรรมมณฑล หมายถึง ผู้ปฏิบัติ ต้องปล่อยละลิ้นประสาท จึงจะมีความบริสุทธิ์ เป็นธรรมชาติ

เจ้าแม่กวนอิม 0083

83. ปัดถ่อเย
นี่คือพระโพธิสัตว์ ยกคณฑ์บาตร บรรยายการโลภในการสัมผัสแตะต้อง ให้สรรพสัตว์ละกายประสาทและกายสัมผัส ถือว่า เป็นเรื่องหลอกหลวง และทราบถึงสภาวะแห่งตนเป็นสูญ
คำว่า ปัดถ่อเย หมายถึง ความต้องใจ สมบูรณ์และหมายถึงร่างกายเป็นมูลฐานของความทุกข์ เมื่อปล่อยวางร่างเรานี้แล้ว จึงสามารถเข้าถึงธรรมได้
คาถาประโยคนี้ เป็นความกรุณาของพระโพธิสัตว์ ชี้ให้สรรพสัตว์รีบหลีกพ้นจากความหลง ร่างกายความเป็นภาพลวง เป็นการผสมของ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีตัวตน ที่แท้จริงแต่ คนเรามักจะก่อกรรมทำบาป ใช้เล่ห์เหลี่ยมร้อยแปด จึงไม่มีทางหลุดพ้น นี่เป็นโรคประจำตัวของชาวโลก ผู้ปฏิบัติพึงสังวรให้มาก

เจ้าแม่กวนอิม 0084

84. ซอผ่อฮอ
นี่คือพระโพธิสัตว์ ถือธวัชยาว บรรยายการวิภาคแยกแยะธรรมลักษณะต่าง ๆ ให้รู้ว่าจิตประสาทและธรรมภายนอกเป็นสิ่งปลอมแปลง เข้าถึงสภาวะตอนอันเป็นความสูญ
คำว่า ซอผ่อฮอ มีความหมายว่า จบแล้วโดยบริบูรณ์เป็นคาถาที่สอนให้เรารู้ว่า ต้องมีจิต จอจ่ออยู่กับธรรมตลอดเวลาถ้าผู้ปฏิบัติเพียงแต่ให้ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย สะอาด บริสุทธิ์แต่ไม่มีวิธีทำให้จิตสะอาด ก็ยังคงยากที่จะไปถึงฝั่งโน้นได้ คาถาของพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ ตรัสว่า เว้นจากการทำสรรพบาป บำเพ็ญ สรรพกุศล ทำจิตให้สะอาดหมดจด นี่คือ พระธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความสะอาดจะต้องเริ่มจากในใจฉะนั้น เริ่มด้วยความสัจจริง จบลงด้วยความสัจจริง